ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพารา ปี 2555 : กลุ่มที่ 20 สำรวจ-การจัดการสวน ( 14 เรื่อง )

แนะนำ

การจัดการสวนยางพารา ยังมีประเด็นให้ทำวิจัยอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะจาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  เช่น แล้ง ฝนตก  น้ำท่วม  พายุ  ดินไสลด์  เป็นต้น  ที่ท้าท้ายเยาวชนไทยให้ช่วยกันคิดหาหนทางออก

ความใหม่ของความรู้ แสดงถึงคุณภาพของโครงงาน ไม่ทำตามคนอื่น

แต่ใช้ความเข้าใจในกระบวนการของเก็บข้อมูล การแยกแยะ และการสร้างเป็นความรู้  ที่ทำให้ทุกคนเชื่อว่า ความรู้นั้นจริงและถูกต้อง

ไพโรจน์  คีรีรัตน์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

8 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////////////

1. การศึกษาผลกระทบและแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อยับยั้งการเปิดกรีดต้นยางพาราก่อนกำหนดของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (PJR012)
ครูที่ปรึกษา นายวุฒิศักดิ์ บุญแน่น
โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จ.มหาสารคาม

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากเปิดกรีดยางก่อนกำหนดและศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อยับยั้งการเปิดกรีดต้นยางพาราก่อนกำหนดของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

วิเคราะห์

เกษตรกรกว่า 70% เร่งเปิดกรีดยางต้นเล็กที่ไม่ได้ขนาด จึงสนใจจะศึกษาผลกระทบจากการเปิดกรีดก่อนกำหนด

วิธีการ  การเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น โดยสอบถามจาก 20 % ของกลุ่มประชากร แสดงข้อมูลจำนวนที่มีต้นยางอายุ 4-6 ปี  วิเคราะห์ปัจจัยการตัดสินใจเปิดกรีดกยางพารา  การทราบและไม่ทราบปัญหาของกรีดก่อนกำหนด และหาแนวโน้มผลกระทบ

เข้าใจว่าการมีความรู้ความระดับจำได้  ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการกระทำของคนได้  ยกเว้นจะสอนจนถึงระดับเข้าใจจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับ การออกกำลังกาย รู้ประ โยชน์แต่ยังเหมือนเดิม

แนะนำให้ใช้ “หลักปรัชญาเศรษบกิจพอเพียง ” ประเมินการตัดสินใจ  จะทำให้สรุปผลได้ชัดกว่า เพิ่มการเก็บข้อมูลผลผลิต และความเจริญเติบโตของต้นยางโดยเปรียบเทียบที่อายุเดียวกัน ระหว่าง กลุ่มเปิดกรีดก่อนและตามกำหนด  จะทำให้ได้ความรู้อีกชุดหนึ่ง สนับสนุนการอธิบาย

สรุป เป็นแนวคิดที่ดี  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

2. รูปแบบการจัดการสวนยางพาราที่เสียหายจากพายุพัดถล่มกรณีศึกษา ตำบลน้ำแก่น อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน (PJR047)
ครูที่ปรึกษา นายมานพ มาสุข
โรงเรียน มัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการสวนยางพาราหลังจากที่ได้รับความเสียหายจากพายุพัดถล่ม

วิเคราะห์

พายุฤดูร้อน ได้สร้างความเสียหาย ให้แก่ต้นยางพารา 1500 ต้น ใน ต.น้ำแก่น อ.ภูเพียง จ.น่าน ในวันที่ 28 เม.ย.55 จึงสนใจจะศึกษาการจัดการหลังได้รับความเสียหาย

วิธีการ  ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับความเสียหาย 100 ราย (มากเกินไปสำหรับ นร.) รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น (อายุยาง, ความชื่นของพื้นที่, ลักษณะดิน, พันธุ์ยาง) ของส่วนที่ได้รับความเสียหาย ข้อมูลสภาพความเสียหาย (ปริมาณน้ำฝน, ทิศทางลม, จำนวนต้นยางล้ม, ลักษณะความเสียหาย)  ข้อมูลผลกระทบ (การเงิน, การดำเนินชีวิต, เงินชดเชย/ความช่วยเหลือ) และข้อมูลการจัดการ (ต้นยาง และแนวทงป้องกัน)

ข้อมูลบางอย่าง คงต้องลงเก็บในสถานที่จริง  เน้นการค้นหาวิธีปฏิบัติที่ดีในการจัดการสวนยางพาราหลังได้รับเสียหาย มีการตรวจสอบความถูกต้องกับผู้รู้ เช่น พนักงานสกย.  และหาวิธีจัดการความเสี่ยง ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในอนาคต

สรุป   จะส่งให้กรรมการคัดเลือก หรือจะแก้ข้อเสนอโครงงานอีกครั้ง และส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

3. การศึกษาสภาพการเจริญเติบโตของยางพาราในโรงเรียนประชารัฐพัฒนาการ (PJR058)
ครูที่ปรึกษา นางสาวสุจิตรา อุปศรี
โรงเรียน ประชารัฐพัฒนาการ จ.ขอนแก่น

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของยางพาราในโรงเรียนประชารัฐพัฒนาการ

วิเคราะห์

ในอำเภอชนบท จ.ขอนแก่น ปลูกยางพาราน้อยมาก (อาจเป็นเพราะดินไม่เหมาะสม ไปถาม สกย.จังหวัด จะได้คำตอบ) จึงสนใจจะศึกษาการเจริญเติบโตของต้นยางพาราที่โรงเรียน

วิธีการ จะปลูกต้นยาง 50 ต้น วัดการเจริญเติบโต (ลำต้น, ความสูง) ทุก 2 เดือน เพื่อทำนายการเจริญเติบโตของต้นยาง

วิธีการทดลองนี้ไม่เพียงพอทำให้เชื่อว่า ควรปลูกยาง เพราะมีข้อจำกัด ในด้านระยะเวลา ไม่ได้ข้อมูลอธิบายภายใน 6 เดือน

สรุป   แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น และส่งโครงงานใหม่ ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

4. การจัดทำสารสนเทศข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในเขตพื้นที่ตำบลยางฮอม (PJR086)
ครูที่ปรึกษา นายสุริยัน วรรณสอน, นายคำรณ ลือชา
โรงเรียน ยางฮอมวิทยาคม จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจ ข้อมูลและจัดทำสารเทศเกษตรผู้ปลูกยางพาราในเขตพื้นที่ตำบลยางฮอม

วิเคราะห์

ไม่มีสารสนเทศของเกษตรกรปลูกยาง ใน ต.ฮอม จ.เชียงราย จึงสนใจจะทำเรื่องนี้

วิธีการ ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูล 6 ด้าน (ภูมิหลังผู้ตอบ, เศรษฐกิจ, สังคม, สภาพแวดล้อม, การเติบโตของยาง, ปัญหาและอุปสรรค)

ยังไม่เห็นประโยชน์จากการมีข้อมูลเหล่านี้  แนะนำไปถาม อบต. ว่า เขาต้องการใช้ข้อมูลอะไรบ้าง   ปัจจุบันอบต.ใช้แผนที่ทางอากาศ บอกพิกัดที่ทำกิน และรายละเอียด ระดับครัวเรือน

สรุป   แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

5. การศึกษา Carbon footprint และความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในสวนยางพารา อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี (PJR139)
ครูที่ปรึกษา นางสาวศลิดดา จุติเวช
โรงเรียน เบญจมเทพอุทิศ จ.เพชรบุรี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษา Carbon footprint ในสวนยางพารา
2. เพื่อเปรียบเทียบ Carbon footprint ที่ยางพาราสามารถดูดซับและปริมาณที่ถูกปล่อยออกมาจากการผลิตยาง

วิเคราะห์

Cabon Footpnnt (CFP) หมายถึง การวัด CO2 ที่ปล่อยจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งทางตรง และทางอ้อม จึงสนใจจะศึกษา CFP ของสวนยางพารา ตั้งแต่เตรียมดิน ถึงการผลิตยางแผ่น

วิธีการ  ศึกษากระบวนการผลิต ตรวจวัดปริมาณ CO2 ตามมาตรฐาน ISO 14040  (มีเครื่องมือวัด หรือสมการใช้การคำนวณ หรือไม่  ) จะแสดงผลด้วยแผนภูมิ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ต้องสืบค้นวิธีคำนวณ และการเก็บข้อมูล  เพิ่มรายละเอียดในการดำเนินงานไม่แน่ใจว่านักเรียนจะสามารถทำได้หรือไม่

สรุป   แนะนำทบทวนวิธีการทดลอง ให้มีรายละเอียดมากขึ้น ส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

6. ยุววิจัยพลิกสวนยาง สู่ป่ายาง ระยะที่ ๒ (PJR154)

ครูที่ปรึกษา นางเบญจมาศ นาคหลง
โรงเรียน หาดใหญ่วิทยาลัย ๒ จ.สงขลา

วัตถุประสงค์

1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสวนยางพาราให้ครอบคลุมตลอดโซนลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา
2. ทำกิจกรรมปลูกป่าที่เหมาะสมในสวนยางพาราของลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา

วิเคราะห์

สวนยางพาราเป็นป่าเชิงเดี่ยวที่เน้นใช้ปุ๋ยเคมี และยากำจัดหญ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อคลองอู่ตะเภา จ.สงขลา  จึงสนใจจะทำวิจัยเชิงปฏิบัติการปลูกพืชร่วมยาง (เป็นการทำกิจกรรม)

วิธีการ เปิดเวทีสัมมนา “ป่ายางรับมือกับภัยพิบัติในลุ่มแม่น้ำคลองอู่ตะเภา”   กิจหรรมปลูกป่าในสวนยาง ศึกษาแนวคิดของชาวสวนยางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประเมินความพึงพอใจ

แนวการทำโครงงานนี้ เป็นลักษณะการจัดกิจกรรม ไม่เห็นกระบวนการสร้าง “ความรู้ใหม่” ที่ชัดเจน ชื่อเรื่อง ไม่เป็นวิชาการ ที่สื่อได้ชัดเจน

สรุป   แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////

7. ผลกระทบต่อยางพาราที่ปลูกในที่ราบลุ่มริมน้ำปาว (PJR176)
ครูที่ปรึกษา นายเจษฎา นาจันทอง
โรงเรียน ท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาปริมาณ และสาเหตุของการปลูกยางบริเวณที่ราบลุ่มริมน้ำปาว
2. เพื่อศึกษาผลกระทบจากการปลูกยางพาราในที่ราบลุ่มริมน้ำปาว

วิเคราะห์

พื้นที่ปลูกยางพาราริมลำน้ำปาว ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงสนใจจะศึกษาการปลูกในที่ราบลุ่ม และผลกระทบจากน้ำท่วม

วิธีการ จะสำรวจพื้นที่สวนยางที่น้ำท่วม สัมภาษณ์หาวิธีแก้ปัญหาของสวนยางน้ำท่วม (เขียนวิธีการน้อย ขาดรายละเอียด)

ผลกระทบในการปลูกในที่ลุ่ม  ศึกษาได้จากข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นยาง เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของ สกย. และสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ปกติ  เก็บข้อมูลดินมาวิเคราะห์   ควรเน้นให้ได้วิธีปฏิบัติที่ดีหลังต้นยางถูกน้ำท่วม ทั้งจากเกษตรกรและความรู้จากหน่วยงาน สกย. และหาวิธีจัดการ/ป้องกันความเสี่ยง ในอนาคตจากการถูกน้ำท่วมอีก

สรุป   แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

8. การศึกษาพันธุ์ยางที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ปลูก ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (PJR179)
ครูที่ปรึกษา นายอดิเรก มะสิน
โรงเรียน สามร้อยยอดวิทยาคม จ.ประจวบคีรีขันธ์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาพันธุ์ยางพาราที่เหมาะสมแก่การปลูกในพื้นที่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2. เพื่อศึกษาผลตอบแทนและความคุ้มทุนที่ได้รับจากยางพาราในแต่ละพันธุ์
3. เพื่อศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจของเกษตรกรในการเลือกพันธุ์ยางและส่งเสริมการปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้น

วิเคราะห์

เกษตรกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปลี่ยนอาชีพมาปลูกยางพารามากขึ้น และประสบความล้มเหลว (ข้อมูลถูกต้องตามความจริงหรือไม่ ตรวจสอบด้วย) เพราะขึ้นกับหลายปัจจัย จึงสนใจจะศึกษาพันธุ์ยางที่เหมาะสม (ขอความรู้ได้ที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง)

วิธีการ  สำรวจสวนยางพาราเป้าหมายใน อ.กุยบุรี เก็บข้อมูล (การลงทุน ผลผลิต  รายได้) จาก 50 ตัวอย่าง  เก็บข้อมูล (การเจริญเติบโตของต้นยางพารา, ปริมาณน้ำยาง และพันธุ์)

เรื่องนี้ไม่ควรทำ เพราะกรมวิชาการเกษตรทำวิจัยไว้มาก และถ่ายทอดให้ สกย. ไปเผยแพร่ ให้แก่ชาวสวน

สรุป   แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น และส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

9. ผลกระทบจากการปลูกยางพาราที่มีผลต่อระบบนิเวศ ในเขตอำเภอกุยบุรี จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ (PJR181)
ครูที่ปรึกษา นายอดิเรก มะสิน
โรงเรียน สามร้อยยอดวิทยาคม จ.ประจวบคีรีขันธ์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาระบบนิเวศของสวนยางพารา
2. เพื่อศึกษาผลกระทบจากการปลูกยางพารา

วิเคราะห์

โครงการนี้จะศึกษาระบบนิเวศของสวนยางพารา ว่าส่งผลกระทบต่อการดำเรงชีวิตของสัตว์ โดยเปรียบเทียบกับนิเวศของป่าไม้อย่างไร

วิธีการ จะศึกษาการเจริญเติบโตของพืชในสวนยางพารา (มีพืชไม่มาก) สัตว์ในสวนยาง และห่วงโซ่อาหาร เปรียบเทียบกับป่าสมบูรณ์, การเจริญเติบโตของต้นยางพารา

อยากทราบว่า จะนำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์อะไร เพราะระบบนิเวศของป่าดีกว่า  ทุกคนก็มีความรู้นี้อยู่ จึงทำให้ได้ความรู้ใหม่น้อย

สรุป   เป้าหมายไม่ชัดเจน แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น และส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

10. สภาพทั่วไปสวนยางพาราในพื้นที่นา ในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส (PJR189)
ครูที่ปรึกษา นายศิริ เอียดตรง
โรงเรียน ร่มเกล้า จ.นราธิวาส

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่นา
2. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสวนยางพาราในพื้นที่นา

วิเคราะห์

ชาวสาวนยางพาราใน อ.ยีงอ หันมาปลูกยางพาราในพื้นที่นา จึงสนใจจะศึกษาเรื่องนี้

วิธีการ สัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปจากเกษตรกร (ไม่ได้บอกว่ากี่ราย) เก็บข้อมูล (ลักษณะพื้นที่ ขนาดสวน ขนาดต้นยางพารา ระดับน้ำใต้ดิน ค่า pH และ ปัญหา)

ถ้าจำไม่ผิดโรงเรียนได้ทำวิจัยเรื่องนี้ เมื่อประมาณ 3-4 ปีก่อน ควรจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอด   ดูว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงและเป็นปัญหา ให้นำสิ่งนั้นมาเป็นโจทย์วิจัย เพื่อได้ความรู้ใหม่ ที่ไม่ซ้ำกับความรู้เดิม

สรุป   ทบทวนข้อมูลเก่า ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานใหม่ และส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

11. การจัดการความรู้เกี่ยวกับยางพาราในอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา (PJR219)
ครูที่ปรึกษา นางกนกวรรณ แสงศรีจันทร์
โรงเรียน ภูซางวิทยาคม จ.พะเยา

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการจัดการความรู้เกี่ยวกับยางพาราในอำเภอภูซาง  จังหวัดพะเยา

วิเคราะห์

ใน อ.ภูซาง มีการปลูกยางพาราจำนวนมาก มีการพัฒนาความรู้ทุกบริบทของชุมชน ในการสร้างผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่ม จึงสนใจจะศึกาาการจัดการความรู้ (Knowledge  Management) ในพื้นที่

วิธีการ  ศึกาษาข้อมูลเบื้องต้น และสภาพปัจจุบัน ในการจัดการความรู้ (KM) โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์  นำข้อมูลมาวิเคราะห์/สังเคราะห์ให้ได้แนวทางที่เหมาะสม (วิธีการกว้างเกินไปสำหรับ จนไม่เชื่อว่าจะได้ความรู้ใหม่)

KM เป็นงานที่ยากไปสำหรับนักเรียน เพราะต้องใช้การจัดกิจกรรม ไม่ใช่การสอบถาม และต้องมีประสบการณ์

สรุป   แนะนำให้ทบทวน และปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน ส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

12. ผลกระทบของการปลูกยางพาราต่อพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (PJR228)
ครูที่ปรึกษา นายประชา วงค์ศรีดา
โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์

1. ศึกษาผลกระทบของการปลูกต้นยางพาราต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น
2. เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการปลูกยางพาราที่ส่งผลกระทบต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นในทิศทางที่เหมาะสม

วิเคราะห์

การขยายพื้นที่ปลูกยางพารา ใน จ.เชียงราย จะไปลดการปลูกพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจเดิมของท้องถิ่น และจะส่งผลกระทบในอนาคต จึงสนใจจะศึกษาเรื่องนี้ ใน อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

วิธีการ  ใช้วิธีการเดียวกับโครงงานที่ PJR 145 “ผลกระทบของการปลูกยางพาราต่อพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น กรณีศึกษาอำเภอเมือง จ.เชียงราย  ซึ่งคงจะได้ความรู้ที่เหมือนกัน ไม่แตกต่างกันมากเมื่อพื้นที่ต่างกัน

สรุป   แนะนำให้เปลี่นไปทำเรื่องอื่น ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

13. ศึกษาผลจากการเพิ่มและขยายพื้นทีปลูกยาง ทดแทนการปลูกพืชไร่ดั้งเดิมกับการจัดการวิถีการเพาะปลูกของเกษตรกรในเขตเทือกเขาพนมดงรัก อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (PJR240)

ครูที่ปรึกษา นางสาวไสว อุ่นแก้ว
โรงเรียน ขุนหาญวิทยาสรรค์ จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะของสวนยางพาราและป่าไม้ตามธรรมชาติในอดีตที่มีผลทำให้การไหลของน้ำเปลี่ยนไป

วิเคราะห์

ยางพาราสร้างรายได้ ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ กลายเป็นป่าเชิงเดี่ยว ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ด้านล่าง ซึ่งเป็นนาข้าว จึงสนใจจะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทิศทางและอัตราไหล ของน้ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรรมทั้งสองพื้นที่

วิธีการ  รวบรวมข้อมูลการปลูกยางพาราจากคนในพื้นที่ และ Google Earth  รวบรวมข้อมูล ปริมาณน้ำฝน และน้ำป่า ย้อนหลัง 10 ปี จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ใช้แบบจำลองในห้องปฏิบัติการศึกษาอัตราไหลของน้ำและการซึมผ่านดิน

โครงงานนี้มีแนวคิดที่ดี  ใช้ร่องรอย หลักฐาน และผลการทดลอง ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น น่าจะเก็บข้อมูลการท่วมของน้ำในพื้นที่ด้านล่างด้วย

สรุป   จะส่งข้อเสนอโครงงานนี้ให้กรรมการคัดเลือก ถ้ามีแก้ไขเพิ่มเติมให้ส่งมา ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

14. การสำรวจและจัดทำ Bio Map การปลูกยางพาราในเขตอำเภอเทิง (PJR256)
ครูที่ปรึกษา นางพนิดา แก้วมาลา
โรงเรียน เทิงวิทยาคม จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์
เพื่อสำรวจความหนาแน่นของพื้นที่ปลูกสวนยางพาราภายในเขตอำเภอเทิง แล้วนำมาจัดทำแผนที่ทางชีวภาพ(bio map)ของแหล่งที่ปลูกยางพารา

วิเคราะห์

การรู้พิกัดตำแหน่งของสวนยางพารา จะทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ และเชื่อมโยงต่อการกำหนดนโยบาย โครงงานนี้จึงในใจจะจัดทำแผนที่ทางชีวภาพ ของแหล่งปลูกยางพารา

วิธีการ  จะสำรวจสวนยางพาราใน อ.เทิง สอบถามความคิดเห็นของเกษตรกร (จะเอาข้อมูลนี้ไปใช้ทำอะไร)  และจัดทำแผนที่ในรูปสื่อมัลติมีเดีย

อยากทราบว่า ใครคือผู้ใช้แผนที่นี้  แล้วไปถามว่าเขาต้องการข้อมูลอะไรบ้าง   คิดว่าน่าจะเป็น อบต.  กิจกรรมของโครงงานจะทำระดับอำเภอ อาจเกินความสามารถของเด็กและทรัพยากรที่มี  ที่สำคัญความรู้ใหม่ คือ อะไร

สรุป   แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพารา ปี 2555 : กลุ่มที่ 23 น้ำเสียและราบนยางแผ่น (6 เรื่อง)

กล่าวนำ

มีความรู้หลายเรื่องเกี่ยวกับ “การป้องกันการเกิดราบนยางแผ่น”  แต่ไม่ถูกนำไปใช้   ยุววิจัยจึงยังมีช่องว่างให้ทำ เช่น นำความรู้ไปทดลองให้ชาวบ้านทดลองใช้เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ที่ปรากฏในพื้นที่

การทำน้ำหมักชีวภาพ มีความรู้มากพอแล้ว  ควรหลีกเลี่ยงการทำโครงงานด้านนี้

ระบบบำบัดน้ำเสียจากการทำยางแผ่น ยังมีหลายประเด็นน่าศึกษา โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้งานจริงระดับครัวเรือน การใช้ปลูกพืชสวนครัว เพราะพิสูจน์แล้วไม่มีโลหะหนัก

ไพโรจน์  คีรีรัตน์
ภาควิช่วิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
8 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////////////////////

1. ผลของพอลิอะคริลาไมล์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตน้ำยางข้น (PJR023)
ครูที่ปรึกษา  นายขุนทอง คล้ายทอง
โรงเรียน  จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี  จ.ปทุมธานี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพ, พอลิอะคริลาไมด์ และพอลิอะคริลาไมด์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ ในการบำบัด น้ำเสียจากโรงงานผลิตน้ำยางข้น
2. เพื่อศึกษาอัตราส่วนของพอลิอะคริลาไมด์ต่อน้ำหมักชีวภาพ ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตน้ำยางข้น

วิเคราะห์
มีการใช้ “พอลิอะคริลาไมด์” ในการบำบัดน้ำเสียโรงงานน้ำยางข้น เพื่อทำให้อนุภาคน้ำยางในน้ำเสียรวมตัวกัน และลอยแยกออกจากน้ำเสีย  และมีการใช้ “น้ำหมักชีวภาพ” บำบัดน้ำเสีย  (ไม่ใช่ความรู้ใหม่)

วิธีการ  (1) เตรียมน้ำหมักชีวภาพ (ซื้อมาใช้ ง่ายกว่า)   (2) ศึกษาผลการใช้น้ำหมักบำบัดน้ำเสียโรงงานน้ำยางข้น  (3) ศึกษาปริมาณพอลิอะคริลาไมด์ในการแยกอนุภาคยาง (4) ศึกษาการใช้ร่วมกันระหว่างพอลิอะคริลาไมด์กับน้ำหมักชีวภาพ

แนวคิดของโครงงานนี้ เป็นการทดลองซ้ำกับงานวิจัยที่สืบค้นมา  จึงไม่มีอะไรใหม่  ต้องวิเคราะห์หาช่องว่างสำหรับทำโครงงานจากความรู้ที่สืบค้นมา   ไม่ทำตามเขา

สรุป    แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน   ส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

2. ระบบบำบัดน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตยางแผ่น (PJR061)
ครูที่ปรึกษา  นางกนกวรรณ แสงศรีจันทร์
โรงเรียน  ภูซางวิทยาคม  จ.พะเยา

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตยางแผ่นโดยใช้หญ้าแฝก กกกลม และผักตบชวาร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ

วิเคราะห์
น้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นดิบของชาวบ้านส่งกลิ่นเหม็น  มีงานวิจัยหลายเรื่องใช้พืชในการบำบัด  จึงสนใจจะพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับทำยางแผ่นระดับครัวเรือน

วิธีการ (1) ศึกษาผลการบำบัดในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ถัง 25 ลิตร ปลูกพืชต่าง ๆ วัด DO และลักษณะกายภาพของพืช   (2) ศึกษาการบำบัดในสภาพจริง

แนะนำให้สืบค้นข้อมูลของเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียด้วย “บึงประดิษฐ์ (Wetland)”   เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้บำบัดจริง เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ความเหมาะสม และประสิทธิภาพของระบบ  การฟื้นตัวของระบบหลังหยุดใช้งานในช่วงหยุดกรีดยาง

สรุป    แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

3. การปรับสภาพกรดฟอร์มิกจากกระบวนการล้างแผ่นยางดิบด้วยเปลือกหอยเชอรี่บดผง (PJR0140)
ครูที่ปรึกษา  นายประชา  วงศ์ศรีดา
โรงเรียน  จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย  จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์
เพื่อหาความหนาของเปลือกหอยเชอรี่ทุบละเอียดที่เหมาะสมสำหรับการปรับสภาพกรดฟอร์มิกในน้ำที่ได้จากกระบวนการแช่ยางพาราแผ่นดิบ

วิเคราะห์
เปลือกหอยเชอรี่ เป็น CaCO3 มีฤทธิ์เป็นด่าง จึงสนใจจะใช้เปลือกหอยเชอรี่ในการปรับสภาพน้ำทิ้งจากการผลิตยางแผ่น

วิธีการ นำเปลือกหอยเชอรรี่มาทุบให้ละเอียด ขนาดไม่เกิน 2 mm. (ควรเป็นผง) วางเป็นชั้นบนทรายชั้นต่าง ๆ ในขวดน้ำ 1 ลิตร เพื่อให้น้ำเสียไหลผ่านก่อนกรองทราย วัดค่า pH น้ำเสียที่ออกจากชุดกรอง เปรียบเทียบกับชุดกรองที่ไม่มีเปลือกหอยเชอรี่

แนวทางของโครงงานี้ จะได้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ และไม่ได้ความรู้ใหม่จากข้อมูลที่เก็บ  แนวคิดเพียงเป็นการใช้ด่างไปปรับสภาพความเป็นกรด  บางแห่งเขาใช้ขี้เถ้า

สรุป    แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

4. รการลดเชื้อราบนยางแผ่นด้วย EM  (PJR243)
ครูที่ปรึกษา  ครูปารณีย์ จันทรัฐ
โรงเรียน  สภาราชินี ตรัง  จ.ตรัง

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ EM ในการลดเชื้อราบนแผ่นยางสด

วิเคราะห์
ในภาคใต้มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้มีเชื้อราบนยางแผ่นดิบของชาวบ้าน ส่งผลให้ขายได้ราคาต่ำ จึงสนใจจะลดราบนยางแผ่นด้วย EM

วิธีการ นำแผ่นที่มีเชื้อรามาล้างด้วย EM (ไม่บอกว่ากี่แผ่น) และแช่ทิ้งไว้ 15 วัน (ชาวบ้านคงรอไม่ได้)  นำไปตากแดดแล้วตรวจดูเชื้อรา (EM จะทำให้ราเจริญเติบโตดี)

แนวคิดไม่ถูกต้อง เพราะ EM มีเชื้อจุลินทรีย์ อาจเร่งให้ราเจริญเติบโตได้ดี   แนวคิดนี้จะแก้ปัญหาหลังเกิดราบนยางแผ่น ซึ่งโรงงานเขาใช้การแช่น้ำและใช้แปรงขัด  ซึ่งกินเวลาไม่นาน    ควรเน้นการป้องกันการเกิดรา ไม่ใช่กำจัดราออกจากยางแผ่น

สรุป    แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

5. การทำยางก้อนด้วยน้ำหมักกล้วย (PJR245)
ครูที่ปรึกษา  นางฉวีวรรณ  ศิริวงค์
โรงเรียน  แม่ต๋ำวิทยา  จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์
ศึกษาการใช้น้ำหมักกล้วยในการทำยางก้อน และลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร

วิเคราะห์
โครงการนี้จะใช้น้ำหมักชีวภาพจากกล้วยแทนกรดฟอร์มิก ในการทำยางก้อนถ้วย เพื่อลดผลข้างเคียง (หน้ายางเสื่อม) และประหยัดเงิน

มีรายละเอียดการทดลองน้อย  เน้นการทำน้ำหมักจากกล้วย (ไม่ได้ความรู้ใหม่)

สรุป    แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

6. ยังยั้งเชื้อราบนยางพาราแผ่นด้วยสมุนไพร  (PJR257)
ครูที่ปรึกษา  นายตระกูล  บุญชิต
โรงเรียน  ศรีแก้วพิทยา  จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์
ศึกษาชนิดสมุนไพรใช้ยับยั้งเชื้อราบนยางแผ่น

วิเคราะห์
ยางแผ่นดิบมีปัญหาเรื่องเชื้อราบนยางแผ่น  สถาบันวิจัยยางแนะนำให้ใช้สารเคมี (แคปแทน, คูปราวิท, ซีแนบ และพาราไนโตรฟินอล) ชุบผิวแผ่นยาง  และมีผู้ทำวิจัยเกี่ยวกับการใช้น้ำมันหอมระเหย และสารสัดสมุนไพรในการยับยั้งเชื้อรา โครงงานนี้จึงสนใจจะใช้สมุนไพรยับยั้งเชื้อรา

วิธีการ จะศึกษาชนิดของสมุนไพรที่จะนำมาใช้ (แต่ไม่ได้บอกว่าอะไรบ้าง)  เนื้อหาการทดลองที่เขียนมามีน้อยมาก การทดลองที่จะทำไม่ได้คำตอบ แนะนำให้อ่านวิธีการของงานวิจัยที่ค้นคว้ามาจะได้แนวทางที่ดี    เรื่องนี้น่าสนใจเพราะเป็นปัญหาจริงในพื้นที่

สรุป    แนะนำให้แก้ไขข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพารา ปี 2555 : กลุ่มที่ 32 น้ำยาง ( 14 เรื่อง )

กล่าวนำ

การมีแนวคิดใหม่สร้างสรรค์ เป็นเรื่องดี น่าชื่นชม  แต่ต้องไม่ลืมเปรียบเทียบกับ แนวคิดเดิม ด้วย  การเปรียบเทียบทำให้เห็นชัดขึ้น

“ความเป็นเหตุ” และ “ความเป็นผล”  เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์  เพื่อกรองความคิดที่ไม่ถูกต้องออกไปได้  แต่ต้องไม่ลืมเงื่อนไบบางอย่างที่กำกับอยู่  เช่น ราคา  คุณภาพ  ประโยชน์  ผลข้างเคียง และอื่น ๆ  ไม่มีอะไรที่ได้อย่างเดียวหรือได้ฝ่ายเดียวโดยไม่เสียอะไร  พึงระวังการเกิดสภาพ “ได้อย่าง เสียอย่าง”

ไพโรจน์  คีรีรัตน์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มอ.

12 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////////////

1. การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำยางพารา (PJR005)
ครูที่ปรึกษา นายเทียนชัย ทองวล
โรงเรียน สตรีภูเก็ต จ.ภูเก็ต

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาอุณหภูมิมีผลต่อการผลิตน้ำยางพารา
2. เพื่อศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อการผลิตน้ำยางพารา

วิเคราะห์
ปัญหาภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการผลิตยางพารา จึงสนใจจะศึกษาปัญหานี้

วิธีการ   ศึกษาขั้นตอนและวิธีการกรีดยางพารา  สุ่มเลือกยางพาราพันธุ์ BMP24 อายุ 20 ปี 10 ต้น จาก 700 ต้น (12 ไร่)   กรีดยางทุกวัน วัดอุณหภูมิอากาศ  ความชื้นสัมพัทธ์  บันทึกน้ำยางที่ได้ เป็นเวลา 2 เดือน

อุณหภูมิและความชื้นมีผลต่อปริมาณน้ำยาง เป็นข้อมูลที่เราทราบกันอยู่แล้ว ไม่ใช่ความรู้ใหม่   ทั้งอุณหภูมิและความชื้นเราไม่สามารถควบคุมได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงการใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

2. การศึกษาอิทธิพลของหอมแดงที่มีผลต่อการไหลของน้ำยางพารา (PJR082)
ครูที่ปรึกษา นางสาวธันยาภัทร์ เธียรทองอินทร์
โรงเรียน กันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มปริมาณของน้ำยางพาราโดยใช้หอมแดง

วิเคราะห์
ปัญหาน้ำยางไม่ไหลทำให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร สารที่ช่วยเก่งการไหลของยาง คือ เอธิลีน จึงสนใจจะใช้หอมแดงเป็นสารเร่งน้ำยาง (มีหลักฐานแสดงให้เห็นบางไหม ว่าหอมแดงมีเอธิลีน)

วิธีการ  จะสกัดเอธิลีในหอมแดงด้วยการกลั่นไอน้ำ (ได้ความรู้นี้มาจากไหน ) จะวัดปริมาณเอธิลีนด้วยการสุกของกล้วย (วัดได้ไม่ละเอียดพอ)   นำสารสกัดหอมแดงไปฉีดที่แผลกรีด (จะเร่งน้ำยางได้อย่างไร) บันทึกผล อายุต้นยาง  เส้นรอบวง ความสูง  ปริมาณเนื้อยางแห้งปริมาณกรดไขมันที่ระเหยได้ในน้ำยางสด )

แนวคิดจะสกัดสารเอธิลีน จากหอมแดงน่าจะมีราคาแพงกว่าที่ขายในท้องตลาด ซึ่งเป็นสารจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ ข้อมูลจากการทดลองไม่ได้นำไปสู่วิธีการสกัดสารที่ดี รวมไปถึงวิธีการใช้สารเร่งน้ำยางที่เหมาะสม

สรุป  แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงการใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

3. การปิดหน้ายางด้วยน้ำยางพารา (PJR109)
ครูที่ปรึกษา คุณครูวิทยา อินกง
โรงเรียน ชุมพลโพนพิสัย จ.หนองคาย

วัตถุประสงค์
ศึกษาว่าน้ำยางพาราสามารถปิดหน้ายางได้

วิเคราะห์
พบปัญหาหลังการปิดหน้ายาง เช่น เป็นโรคเปลือกแห้งยางพารา จึงสนใจจะศึกษาข้อมูลสำหรับหยุดกรีด

วิธีการ  (1) ศึกษาโครงสร้างทางชีววิทยา (ต้นยาง) และทางเคมี (น้ำยาง) [จะนำข้อมูลไปใช้อธิบายอะไร]    (2) ใช้น้ำยางพาราเป็นตัวตัดสินใจปิดกรีด [อ่านไม่เข้าใจ ตีความเองเอง]

เขียนรายละเอียดการทดลองน้อย ทำให้ไม่เข้าใจ  เรื่องนี้ผู้กรีดรู้ดีว่าควรหยุดหรือไม่หยุดกรีด  ปริมาณและ %เนื้อยางเป็นข้อมูลที่บอกให้ทราบ ไม่ต้องทำโครงงาน

สรุป  แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

4. การศึกษาปริมาณน้ำยางจากการทายารักษาหน้ายางและไม่ทา (PJR120)
ครูที่ปรึกษา นายประเสริฐ ทองทิพย์
โรงเรียน ชุมพลโพนพิสัย จ.หนองคาย

วัตถุประสงค์
ผลของยารักษาหน้ายางต่อปริมาณน้ำยางพารา

วิเคราะห์
ความชื้นในฤดูฝนมากกว่า 90% เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของรา  จึงมีการทาหน้ายางกันเชื้อราเข้าทำลาย  จึงสนใจว่า ผลการรักษาหน้ายางแล้ว ต่อปริมาณน้ำยางพารา

วิธีการ   เลือกช่วงเวลาฝนไม่ตก  นำยารักษาหน้ายางหรือมทาแลกซิล ไปทาที่หน้ากรีดหรือเหนือรอยกรีด  เปรียบเทียบระหว่างการทาหรือไม่ทา บันทึกปริมาณน้ำยางที่กรีดได้

เขียนวิธีการสั้นมาก  และจับคู่เหตผลผิด  การทายางหน้ายาง ส่งผลต่อการเกิดโรคที่หน้ายาง (ไม่ใช้น้ำยาง)  และการเกิดโรคที่หน้ายาง ส่งผลต่อ ปริมาณน้ำยาง   ทำให้การเก็บข้อมูลน้ำยางก็ไม่สามารถนำไปอธิบายการใช้ยาทาหน้ายางได้

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

5. การป้ายน้ำยาเร่งน้ำ (PJR129)
ครูที่ปรึกษา นายพิทักษ์ วรสาร
โรงเรียน กุดข้าวปุ้นวิทยา จ.อุบลราชธานี

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการป้องกันและแก้ไขการป้ายน้ำยาเร่งน้ำยางในหน้ายางกรีดเป็นประจำ

วิเคราะห์
การป้ายน้ำยางเร่งน้ำยางบ่อยในช่วงแรก ทำให้ได้น้ำยางมาก ป้ายต่อไป 1-2 เดือน น้ำยางลดปริมาณลง จนน้ำยางไม่ออก ทำให้เปลือกยางแห้งและตาย  จึงสนใจจะศึกษาเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำยางสม่ำเสมอ จากการใช้สาร

วิธีการ ใช้สารป้องกันและกำจัดโรคพืช (ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียน) ผสมกับยาฝุ่นแดง (ป้องกันการชะล้างของน้ำฝน) ใช้ในอัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทาหน้ายางกรีดทุก 2-4 วัน

ไม่ได้บอกว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไร  และยังสบสนระหว่าง สารเร่งน้ำยาง กับ สารทาหน้ายางกันโรค   คาดว่ามีความรู้พื้นฐานไม่พอ

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

6. ศึกษาการติดผลของยางพารามีผลต่อปริมาณการไหลของน้ำยาง (PJR153)
ครูที่ปรึกษา นางสาวนัทญาภรณ์ ยอดสิงห์
โรงเรียน กันทรลักษ์วิทยา จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาปริมาณน้ำยางดิบที่ลดลง จากการติดผลของยางพารา
2. เพื่อศึกษาการลำลียงสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของต้นยางพาราที่มีผลต่อปริมาณการไหลของน้ำยาง

วิเคราะห์
มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำยาง  นำ้ยางที่กรีดได้มาจาท่อลำเลียงอาหาร และเชื่อมโยงกับการมีผล ดังนั้นจะศึกษา ผลของการติดผลของยางพารา ต่อปริมาณน้ำยางยางพารา

วิธีการ  เลือกสวนยางที่อายุเท่ากัน (5 สวน) สวนละ 10 ต้น นับจำนวนของผล และวัดปรัมาณน้ำยางพารา 1 สัปดาห์ ซ้ำ 3 ครั้ง   และสัมภาษณ์ชาวส;นยางพารา  (จะเก็บข้อมูลอะไร)

ไม่มีเหตุผลในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง [จำนวนผล] กับ [ปริมาณน้ำยาง]  ไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์

สรุป  แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

7. การศึกษาผลของระยะห่างของการปลูกต้นยางพารากับปริมาณน้ำยางที่ได้รับของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (PJR168)
ครูที่ปรึกษา นางอัญชรี ไชยสถิตวานิช
โรงเรียน เชียงของวิทยาคม จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของระยะห่างของต้นยางพารา ต่อปริมาณน้ำยางที่ได้ของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

วิเคราะห์
ระยะการปลูกยางพาราที่เหมาะสม คือ 3*7 เมตร (ข้อมูลจาก สกย. ซึ่งได้จากผลวิจัยระดับชาติ)  แต่เกษตรกรจะปลูกชิดกันมาก  จึงสนใจจะศึกษาผลของระยะห่างของต้นยางพาราต่อปริมาณน้ำยางที่ได้

วิธีการ (1) สำรวจพื้นที่ปลูกยางในอ.เชียงของ (20 ราย)  (2) ศึกษาการเก็บข้อมูลปริมาณน้ำยาง (เลือกต้นยางพื้นที่ละ 20 ต้น อายุ 6 ปี ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซม.) เลือกระยะห่างการปลูก 1.5*7 เมตร, 2*7 เมตร, 2.5*7 เมตร, 3*7 เมตร  (ไม่แน่ใจว่าจะมีตัวอย่างให่เลือกเก็บข้อมูล    (3) เก็บข้อมูล ปริมาณน้ำยางที่ได้ (10 วัน)  วิเคราะห์และสรุปผล

ไม่ใช่เรื่องใหม่  ถามข้อมูลจาก สกย.ได้

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่ออื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

8. การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณน้ำยางพาราในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบ ในเขตอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา (PJR193)
ครูที่ปรึกษา นางสายสุดา สร้อยสวิง
โรงเรียน ภูซางวิทยาคม จ.พะเยา

วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำยางพาราจากสวนยางพาราในพื้นที่ราบและพื้นที่ลาดชัน

วิเคราะห์
ใน อ.ภูซาง จ.พะเยา มีการปลูกยางพารา บนพื้นที่ลาดชัน บนภูเขา และพื้นที่ราบ จึงสนใจการได้ปริมาณน้ำยางพารา ของสวนบนพื้นที่ต่าง ๆ

วิธีการ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง (พื้นที่ราบและลาดชัน) (2) เลือกพื้นที่สวนยาง ลงพื้นที่สำรวจปริมาณน้ำยางพารา บันทึกผล

ไม่ได้ความรู้ใหม่  การบำรุงรักษาสวนและคุณภาพของดิน เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ ไม่ใช่ความลาดเอียง  ได้ความรู้นี้ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะถ้ามีพื้นที่ไม่เหมาะสมก็จะยังจะปลูก

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

9. การศึกษาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำยางพารามีสีเขียว (PJR229)
ครูที่ปรึกษา นางสาวสุณัฐชา โนจิตร
โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำยางพาราที่กรีดได้มีสีเขียวผิดปกติ พเอนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

วิเคราะห์
น้ำยางของเกษตรกรใน อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีสีเขียวผิดปกติ จึงสนใจศึกษาสาเหตุของการมีน้ำยางสีเขียว

วิธีการ   ตรวจสอบน้ำยางที่ปกติและที่มีสีเขียว  (เก็บข้อมูลอะไรบ้าง)    วิเคราะห์หาสาเหตุ คและหาแนวทางแก้ไขปัญหา

เขียนวิธีการทดลองมาสั้นมาก  และตีความว่า เป็นลักษณะการทำ Lab ไม่ใช่ทำโครงงาน ซึ่งมีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นหลักฐานอธิบาย  ไปถาม สกย. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ  ก็จะบอกได้ว่ามีสาเหตุจากอะไร และจะแก้อย่างไร

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555 

//////////////////////////////////////////////////

10. สำรวจการเว้นระยะห่างการปลูกยางพาราว่ามีผลต่อการไหลของน้ำยางหรือไหม (PJR271)
ครูที่ปรึกษา  ไสว อุ่นแก้ว
โรงเรียน ขุนหาญวิทยาสรรค์ จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการสำรวจเปรียบเทียบการเว้นระยะการปลูกต้นยางพาราว่ามีผลต่อการไหลของน้ำยางหรือไหม่

วิเคราะห์
เกษตรกรนิยมปลูกยางสองสายพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251  มีการปลูกการเว้นระยะห่างของต้นยางต่างกัน จึงสนใจเปรียบเทียบ

วิธีการ   สำรวจการปลูกยางพารา (ระยะห่างระหว่าต้น) ใน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ (บ้านพร้าน, บ้านภูฝ้าย, บ้านกันทรอมน้อย)  (2) สอบถามข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร โดยใช้ตอบแบบสอบถาม

การปลูกส่วนใหญ่ทำตามคำแนะนำของ สกย. ซึ่งได้มาจากผลงานวิจัย ที่มีการควบคุมตัวแปรอย่างน่าเชื่อถือ  การสำรวจข้อมูลตามที่เสนอมาอาจได้ข้อมูลคลาดเคลื่อน จึงไม่เห็นประโยชน์และความใหม่จากแนวคิดนี้

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภาายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

11. เวลากับสภาพอากาศที่ควรกรีดยางพารา (PJR132)

ครูที่ปรึกษา อ.ปารณีย์  จันทรัฐ
โรงเรียน สภาราชินี จังหวัดตรัง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อหาช่วงเวลาที่กรีดยางพาราได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุด
2. เพื่อหาช่วงเวลาที่ควรกรีดยางพาราในสภาพอากาศต่างๆ ของแต่ละวัน

วิเคราะห์
ปริมาณน้ำยางมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลา  จึงสนใจจะศึกษาเวลาที่กรีดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุด [ความเหมาะสมไม่จำเป็นต้องได้น้ำยางสูงสุด มีเงื่อไขอื่นด้วย เช่น ความปลอดภัย ]

วิธีการ  (1) กรีดยางพารา 1 ต้น  เวลา 01.00 น. บันทึกปริมาณน้ำยาง  เปลี่ยนเวลากรีดไป 1 ชม. (สภาพอากาศไม่เหมือนกัน เพราะไม่ใช่เวลาเดียวกัน นำมาเปรียบเทียบผลกันไม่ได้)  (2) วัดอุณหภูมิในช่วงกลาวงวัน  กรีดยางพารา (4 ต้น) เวลา 20.00-22.00 น, 24.00-02.00 น., 02.00-04.00 น. สังเกตปริมาณน้ำยางในแต่ละต้น  ซ้ำ 3 ครั้ง  เลือกวันที่สภาพอากาศแตกต่างกัน

คนกรีดรู้ดี ว่าควรจะกรีดช่วงไหน ไม่นำเป็นต้องนำมาทำเป็นโครงงาน

สรุป   แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

12.  ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราจากหินฝุ่นบะซอลต์ ในจังหวัดบุรีรัมย์ (PJR205)

ครูที่ปรึกษา  นางปวัญญา นาคะวงศ์
โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราจากฝุ่นบะซอลต์ในจังหวัดบุรีรัมย์

วิเคราะห์
หินฝุ่นบะซอลต์มีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช (เพิ่มหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ) และมีมากในจังหวัดบุรีรัมย์  (ปริมาณเท่าใด มีแหล่งอยู่ที่ไหน)   จึงสนใจจะศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำยาง (ผสมปุ่ยอินทรีย์ ปุ๋ยอนินทรีย์)

วิธีการ  นำปุ๋ยอนินทรีย์สูตร 20-10-12  ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ กับ หินฝุ่นบะซอลต์ ในอัตราส่วนต่าง ๆ (ไม่ได้บอกอัตราส่วน)   นำไปทดสอบกับแปลงยาง (4แปลง แปลงละ 400 ตารางวา)  เปรียบเทียบปริมาณน้ำยาง

เรื่องปุ๋ย ควรจะศึกษาสารอาหารในหินฝุ่นและราคา เพื่อยืนยันว่ามีความเหมาะสมนำมาใช้  หลังจากนั้นหาสูตรที่เหมาะสมด้วยการทดลองกับกล้ายางและพืชอื่น เพราะการนำไปใช้ในสวนยางจะวัดผลได้ยาก  ที่สำคัญต้องศึกษาผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้หินฝุ่น

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  ส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

13. “น้ำขี้เถ้า” เจ้าประโยขน์ พัฒนายางใต้ (PJR184)

ครูที่ปรึกษา นายอรรณพ  แก้วพิบูลย์
โรงเรียน ธรรมโฆสิต จ.สงขลา

วัตถุประสงค์
แก้ปัญหาน้ำยางแข็งตัว ของเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่สามารถหาแอมโมเนียได้

วิเคราะห์
ขี้เถ้า จากการเผาไม้ของไม้สามารถช่วยชะลอการแข็งตัวของยางพาราได้  ในกรณีที่ไม่มีแอมโนเนีย  (สิ่งสกปรกในขี้เถ้า จะมีผลต่อคุณภาพยาง จะแก้ปัญหานี้อย่างไร)

วิธีการ  เผาเศษไม้จำนวน 3 ชนิด ในท้องถิ่น (ไม่ได้บอกชนิดใดบ้าง)  นำขี้เถ้าที่ได้ไปทดลองกับน้ำยางพารา  สรุปผล (ไม่ได้บอกว่าวิธีการทดลอง)

เขียนรายละเอียดการทดลองมาน้อยมาก คาดว่าจะได้ข้อมูล [ชนิดขี้เถ้า] กับ [การรักษาสภาพน้ำยางสด]  แต่แนวคิดไม่ถูกต้อง ควรใช้วัสดุมีคุณภาพ กับ ยางพารา ซึ่งมีราคาสูง

สรุป  แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งข้อเสนอดครงงานใหม่ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

14. การศึกษาการแข็งตัวของน้ำยางจากกรดน้ำส้มหมักต่างชนิดกัน (PJR287)
ครูที่ปรึกษา คุณครูนภัสกร ฟองฟุ้ง
โรงเรียน พิชัยรัตนาคาร จ.ระนอง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษากระบวนการหมักกรดน้ำส้มจากวัตถุดิบต่งชนิดกัน
2. เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำกรดน้ำส้มจากกรดน้ำส้มหมัก
3. เพื่อศึกษากระบวนการแข็งตัวของน้ำยางพาราจากกรดน้ำส้มหมัก

วิเคราะห์
โครงงานนี้จะทำกรดน้ำส้ม จากการหมักผลไม้ เพื่อลดต้นทุน (ไม่น่าจะถูกกว่าน้ำกรดจากเคมี)

วิธีการ  (1) นำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวและมีปริมาณตาลมาก มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ  (ไม่ได้ระบุชนิดใด) ใส่ขวด 5 ขวด (ปริมาณเท่ากัน) (2) ใส่วัตถุดิบเร่งปฏิกริยา เช่น น้ำตาลและนมเปรี้ยววัดค่า pH (3 วัน วัด 1 ครั้ง) เพื่อหากรดน้ำส้มที่ดีที่สุด  [น่าจะเป็นน้ำหมักชีวภาพ]  (3) ทดลองนำไปใช้กับน้ำยาง และเปรียบเทียบกับกน้ำกรดที่ใช้ในปัจจุบัน

สืบค้นความรู้พื้นฐานในการทำกรดน้ำส้มและอ่านให้ละเอียด จนสามารถกำหนดขั้นตอนของการทดลองได้  โดยตอบคำถาม วิธีการผลิตกรดที่ดีจากผลไม้จะมีวิธีการอย่างไร ใช้ข้อมูลอะไรอธิบาย

จะต้องใช้ในสัดส่วนเท่าใดจะจะเหมาะสมในการจับแข็งตัวยางพารา

ถ้าใช้มากหรือน้อยเกินไปจะมีผลอย่างไรต่อคุณภาพยางแผ่น

มีผลไม้ปริมาณเพียงพอหรือไม่ ในการทำกรดใช้เอง  ความสะอาดไม่มีสิ่งปลอมปนติดลงไปในเนื้อยางจะทำอย่างไร และถ้าแก้ปัญหาแล้วจะมีผลต่อราคากรดเท่าใด

สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  ส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพารา ปี 2555 : กลุ่มที่ 19 วัชพืชและศัตรูพืช ( 3 เรื่อง )

กล่าวนำ

โครงงานที่เสนอมา ติดกับสิ่งที่คิดได้ และเชื่อมั่นในสิ่งนั้นจนเกินไป   ลืมขยายการมองให้กว้างขึ้น  โดยมองในมุมใหม่   เริ่มพัฒนาตนเองด้วยการอ่านมาก ๆ และบันทึกการอ่าน

ทักษะการคิด สำคัญกว่า การจำความรู้คนอื่น  แต่บางครั้งก็จำเป็นเพื่อเป็นพื้นฐานการคิด

ไพโรจน์  คีรีรัตน์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

6 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

1. การกำจัดเพลี้ยหอยด้วยน้ำหมักชีวภาพ (PJR275)
ครูที่ปรึกษา นางสาวไสว อุ่นแก้ว
โรงเรียน ขุนหาญวิทยาสรรค์ จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ได้น้ำหมักชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ

วิเคราะห์

เพลี่ยหอยเข้าทำลายต้นยางพารา (ยางอายุเท่าใด ในพื้นที่มีความเสียหายมากเท่าใด ) ต้องใช้สารเคมีกำจัด หรือบางรายใช้ปุ๋ยชีวภาพกำจัด (ผิดหน้าที่ของปุ๋ย)  จึงสนใจจะหาน้ำหมักชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการ  จะทำน้ำหมักชีวภาพ 3 สูตรจากวัสดุ กลอย ยาฉุน หางไหล และพริก แล้วนำไปทดสอบโดยการฉีดทีปริมาณต่าง ๆ บนต้นยางที่มีเพลี้ยหอย (แสดงว่าต้องมีเพลียหอยเพียงพอให้ทดลอง)   เขียนวิธีการมาไม่ละเอียดพอ   ไม่รู้ว่าจะทดลองอย่างไร

การทดลองในภาคสนามอาจทำให้ได้ข้อมูลไม่ชัดเจน เพราะควบคุมตัวแปรไม่ได้ ควรจะทดลองใน Lab. ด้วย

ควรจะให้เหตุผล ว่าทำไมจึงเลือกวัสดุดังกล่าว หากมีข้อมูลหรือหลักฐานมายืนยัน จะช่วยให้น่าเชื่อถือมากขึ้น

สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับปรับแก้ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

2. ยาฆ่าหญ้าจากน้ำหมักชีวภาพ (หอยเชอรี่) ในสวนยางพารา (PJR093)
ครูที่ปรึกษา นางสาวศศิธร ปะนัดโส
โรงเรียน ชุมพลโพนพิสัย จ.หนองคาย

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษายาฆ่าหญ้าจากน้ำหมักชีวภาพ ที่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา

วิเคราะห์

การใช้ยาฆ่าหญ้าในสวนยางพารา มีผลกระทบและส่งผลเสียต่อรากของยางพารา  โครงงานนี้จึงสนใจจะศึกษาการใช้น้ำหมักกำจัดวัชพืช

วิธีการ จะใช้หอยเชอรี่เป็นวัสดุหมัก (ไม่มีเหตุผลสนับสนุน)  นำน้ำหมักไปฉีดในสวนยางพารา ในปริมาณต่าง ๆ  บันทึกผล (ไม่ได้บอกว่าจะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เก็บอย่างไร)

น้ำหมักชีวภาพ มีสมบัติเป็นปุ๋ย และบางสูตรสามารถใช้ไล่แมลงได้   แต่จะนำมาฆ่าหญ้าคงไม่มีประสิทธิภาพ อาจใช้กำจัดวัชพืชได้ แต่จะเสียค่าใช้จ่ายมาก

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

3. การปลูกถั่วลิสงในสวนยางพารา (PJR087)
ครูที่ปรึกษา นายสุริยัน วรรณสอน
โรงเรียน ยางฮอมวิทยาคม จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการใช้ถั่วลิสงคลุมดิน ป้องกันวัชพืชในสวนยางพารา ในเขตพื้นที่ตำบลยางฮอม  อำเภอขุนตาล  จังหวัดเชียงราย

วิเคราะห์

วัชพืช ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด (ถางก็ได้)   แนวทางในการปลูกถั่วลิสง นอกจากจะช่วยคลุมดินรักษาความชื้นแล้ว ยังป้องกันวัชพืชด้วย

วิธีการ  จะสำรวจศัตรูพืชในสวนยางที่ปลูกถั่วลิสงและไม่ปลูก  วัดความชื้นในดิน  จำนวน 20 ครั้งในระยะเวลา 5 เดือน เก็บผลผลิตและคำนวณต้นทุนการปลูก

การปลูกถั่วลิสงในสวนยางพาราไม่ใช่เรื่องใหม่  มีผลงานที่ทำไว้แล้ว  พบว่า ต้องใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต แม้รายได้สูงแต่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกมาก ๆ

ควรต่อยอดจากผลงานที่มี ไม่ทำซ้ำ แต่หาช่องว่างสร้างความรู้ในแง่มุมใหม่

หากเป้าหมาย คือ กำจัดวัชพืช ควรเลือกการไถกลบจะสะดวกกว่า หรือใช้สารเคมีจะถูกที่สุด

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน หรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพารา ปี 2555 : กลุ่มที่ 18 พืชในสวนยางพารา ( 4 เรื่อง )

กล่าวนำ

การวิเคราะห์ให้รู้ว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล  การแก้ปัญหาจะเริ่มที่การจัดการกับต้นเหตุ จึงจะสำเร็จ  อ่านมาก ๆ จึงจะรู้จริง

ตั้งหลักให้มั่น ใคร่ครวญให้ละเอียด ว่าการจะแก้ปัญหานั้นถูกต้องหรือไม่ อาศัยการแยกแยะองค์ประกอบ และการทำหน้าที่ขององค์ประกอบ เช่น  ข้าวและมะนาวในร่องยาง เป็นพืชแซม ซึ่งมีอีกทั้งหลายชนิดที่นำมาปลูกในสวนยางได้  การเลือกศึกษาชนิดเดียวอาจผิดก็ได้ถ้ายังไม่ได้พืชที่ดีที่สุด

หน้าที่ของหญ้าแฝกไม่สามารถรับแรงลมได้  เช่นเดียวกับ ต้องการแก้ปัญหากาฝากขึ้นบางต้นถึงกับต้องเปลี่ยนไปปลูกยางพาราพันธุ์ที่กาฝากไม่ชอบแทนที่จะสนใจพันธุ์ที่ให้น้ำยางมาก เราต้องฝึกการคิดอย่างรอบด้านมาก ๆ  เวทีนี้ถือว่าเป็นการฝึกที่ยอดเยี่ยมเวทีหนึ่ง

ไพโรจน์  คีรีรัตน์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

6 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////////////////////

1. การปลูกข้าวไร่ร่วมยางพารา (PJR167)
ครูที่ปรึกษา นายสุทัด เพียเกษม
โรงเรียน ชุมแพพิทยาคม จ.ขอนแก่น

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของข้าวไร่ที่ปลูกร่วมกับยางพารา

วิเคราะห์

ข้าวไร่เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพที่ต้องการน้ำน้อย  เหมาะสำหรับการปลูกเป็นพืชแซมในระหว่างแถวยาง โครงการนี้สนใจจะปลูกข้าวเป็นพืชแซมในสวนยางปลูกใหม่

วิธีการ  ทดลองปลูกข้าวในสวนยางพารา  เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของข้าวทุก 2 อาทิตย์ (จะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร ผลผลิตสำคัญกว่า)

การทดลองเป็นวิธีการหนึ่ง บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการนี้  ใช้การสำรวจหรือเก็บข้อมูลจากที่ชาวบ้านปลูกจะง่ายกว่า คำถาม คือ การปลูกข้าว หรือพืชแซมสวนยาง สามารถทำได้ แนวคิดของโครงงานนี้ได้ความรู้น้อย หากจะให้เป็นโครงงานคงต้องเพิ่มเนื้องาน

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

///////////////////////////////////////

2. การศึกษาการปลูกต้นมะนาวในสวนยางพาราและในที่โล่ง (PJR135)
ครูที่ปรึกษา นายธวัชชัย โคตรสุโน
โรงเรียน ชุมพลโพนพิสัย จ.หนองคาย

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตการปลูกต้นมะนาวในสวนยางพาราและในที่โล่งแจ้งว่าสถานที่ใดจะให้ผลผลิตมะนาวมากกว่ากัน

วิเคราะห์

ระหว่างรอต้นยางโต มีการปลูกพืชแซมในสวนยางเป็นรายได้เสริม มะนาวมีราคาแพง  จึงสนใจจะศึกษาการปลูกมะนาวร่วมสวนยางพารา

วิธีการ  จะศึกษาหาข้อมูลและคัดเลือกสายพันธุ์มะนาว ทดลองปลูก (ไม่ได้บอกว่าจะปลูกกี่ต้น)  รอจนต้นมะนาวออกผล แล้วบันทึกผลการทดลอง (เวลา 6 เดือนสำหรับทำโครงงานคงไม่พอ จะแก้ปัญหาอย่างไร) ไม่มีการเก็บข้อมูลรายได้จากมะนาว  คาดว่าปลูกไม่ทันเก็บข้อมูลในปีนี้

โครงงานนี้ติดวิธีการทดลอง ซึ่งสามารถใช้การสำรวจได้ และง่ายกว่า  แต่คงไม่มีสวนมะนาวภายใต้ร่มยาง เพราะมะนาวเป็นพืชที่ใช้แสงมาก  แนวคิดนี้ไม่น่าจะถูดต้อง  นอกจากนี้ถ้าปลูกมะนาวในสวนยางปลูกใหม่ มันจะแย่งอาหาร

ถ้าจะปลูกมะนาวไม่กี่ต้น ก็ไม่ต้องทำโครงงานเพราะไม่ถือเป็นการสร้างรายได้เสริม

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

///////////////////////////////////////

3. หญ้าแฝกป้องกันต้นยางพาราล้ม (PJR085)
ครูที่ปรึกษา นายสุริยัน วรรณสอน
โรงเรียน ยางฮอมวิทยาคม จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการใช้หญ้าแฝกป้องกันการล้มของต้นยางพาราในช่วงลมแรง

วิเคราะห์

ในเขตพื้นที่ตำบลยางฮอม ต้นยางพาราล้มเนื่องจากระบบรากตื้น การกระจายตัวในแนวดิ่ง และความหนาแน่นของรากจะลดลงเมื่อพื้นที่ที่มีความลาดชันขึ้น จึงส่งผลให้ต้นยางพาราล้ม  จึงสนใจศึกษาการนำหญ้าแฝกแก้ปัญหาการล้มของต้นยางพารา

วิธีการ  จะรวบรวมข้อมูลของหญ้าแฝก และทดลงปลูกในสวนยางพารา จากนั้นศึกษาแนวโน้มการล้มของต้นยางภายในระยะเวลา 5 เดือน สรุปผล

ถ้าในช่วงนั้นไม่มีลมแรง (ไม่ได้วัดความเร็วจะรู้ได้อย่างไร) ก็ไม่มีข้อมูล หรือจะสรุปว่าไม่ล้ม  แนวคิดนี้จะอาศัยธรรมชาติในการเก็บข้อมูล  ซึ่งไม่ใช่วิสัยของนักวิจัย

การล้มของต้นยางเนื่องจากไม่สามารถต้านแรงลม  ซึ่งทำให้เกิดโมเมนต์รอบโคนยาง เราสามารถใช่ลวดสลิงดึงยอดยางให้ล้มแล้ววัดแรง ก็จะสามารถคำนวนแรงลมได้  มีสูตรคำนวนแรงจากความเร็วลม ซึ่งเขาใช้ในการคำนวณแรงลมที่กระทำต่อตึก หรืออาคารสูง หรือถังน้ำสูง

หญ้าแฝกทำให้ผิวดินยึดตัวกันแน่น  ป้องกันการชะล้างหน้าดิน แต่ไม่สามารถกันการล้มของต้นยางพาราได้ แม้จะอ้างว่าหญ้าแฝกทำหน้าที่คล้ายเสาเข็ม แต่ไม่ได้บังลมให้แก่ต้นยาง การปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นแนวกันลมน่าจะเหมาะสมกว่า

สรุป แนะนำให้ไปปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน หรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

///////////////////////////////////////

4. ศึกษาปัจจัยการเจริญเติบโตของกาฝากในพันธุ์ยางพารา (PJR063)
ครูที่ปรึกษา นางศุลยา สามัญ
โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล

วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาชนิดของพันธุ์ยางพาราต่อการเจริญเติบโตของกาฝาก

วิเคราะห์

กาฝากอาศัยการแย่งอาหารจากท่อน้ำเลี้ยงของต้นไม้  ส่งผลให้น้ำยางลด  เกษตรกรชาวเบตงประสบปัญหากาฝาก  โครงการนี้จึงสนใจชนิดพันธุ์ยางพาราต่อการเจริญเติบโตของกาฝาก เพื่อเป็นข้อมูลในการคัดเลือกพันธุ์

วิธีการ  จะเลือกแปลงยาง สัมภาษณ์เจ้าของสวน บันทึกอุณหภูมิและความชื้น (เดือนละสองครั้ง)  ลักษณะภูมิประเทศ จำนวนต้นยางที่มีกาฝาก  ขนาดลำต้น ลักษณะเปลือกที่มีกาฝาก สรุปผล

เป้าหมายผิด ที่จะคัดเลือกพันธุ์ยางเพื่อแก้ปัญหาน้ำยางลดจากมีกาฝาก  แทนจะป้องกันกาฝากหรือกำจัดกาฝากเพื่อให้ได้น้ำยางเพิ่ม

วิธีการไม่ถูกต้อง  เก็บข้อมูลไม่ตรงกับเป้าหมาย (ได้ยางพันธ์ที่ไม่มีกาฝาก)   ข้อมูลที่เก็บได้ใช้แปลความหมายไม่ได้

ความเป็นเหตุเป็นผล และมีความรู้พื้นฐานพอ จะช่วยให้เราออกแบบการทดลองได้ถูกต้องและ ไม่หลงทาง

สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน หรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555 

///////////////////////////////////////

ผลประเมินข้อเสนอโครงงานยุววิจัยยางพาราปี 2555 : กลุ่มที่ 17 ปัจจัยการเจริญเติบโตของยางพารา ( 16 เรื่อง )

กล่าวนำ

การทำโครงงาน เป็นการหาความรู้ใหม่ โดยหลักฐานต่าง ๆ  มากกว่าหนึ่งอย่างมาแสดงให้คนอื่นเชื่อ  คุณภาพของโครงงานเกิดขึ้นเมื่อเป็นประโยชน์และมีคนเชื่อว่าจริง

การตั้ง “เป้าหมาย” จึงมีความสำคัญเพราะไปกำหนดการทดลอง เพื่อเก็บข้อมูลให้เพียงพอสำหรับอธิบายหรือสรุป

ความสัมพันธ์เดียว เป็นเพียงการทดลองหนึ่ง ไม่สามารถสรุปความรู้ ที่ขึ้นกับหลายปัจจัยได้ เช่น การเจริญเติบโตของยางพารา  ปริมาณน้ำยางพารา

ผู้ทำโครงงานต้องเข้าใจ  ว่าอะไรเป็นปัจจัยหลัก อะไรเป็นปัจจัยรอง

ไพโรจน์  คีรีรัตน์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

6 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////////////

1. การศึกษาการเจริญเติบโตของต้นยางพาราช่วงก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางใหม่ด้วยคุณสมบัติทางเคมีของดินและปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบยางพารา กรณีศึกษาอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร (PJR007)
ครูที่ปรึกษา นายขุนทอง คล้ายทอง
โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จ.ปทุมธานี

วัตถุประสงค์    1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณสมบัติดินทางเคมี และปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพาราระดับแปลงเกษตรกรช่วงก่อนเปิดกรีด
2. เพื่อศึกษาคุณสมบัติของดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา

วิเคราะห์

ความสมบูรณ์ของดิน มีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพารา ซึ่งสามารถประเมินจากการวิเคราะห์ดิน โครงงานนี้สนใจจะศึกษาความสัมพันธ์ของ [สมบัติดินและคลอโรฟิล] กับ [การเจริญเติบโต] ในช่วงก่อนเปิดกรีด เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ปุ๋ย

วิธีการ  สุ่มเลือกสวนยางในอ.สามง่าม จ.พิจิตร 5 แปลง,  วัดค่า pH ของดิน,   ศึกษาปริมาณอินทรียวัตถุ,   ศึกษาธาตุอาหารในดิน (N P K ) ด้วยการวิเคราะห์ทางเคมีแล้วใช้สูตรคำนวณ,    ศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ (แปลงละ 10 ใบ) โดยวัดเส้นรอบวงลำต้น ที่ความสูงจากพื้น 170 cm  หาอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ (relative growth rate)

โครงงานนี้สืบค้นข้อมูลมามาก จนได้วิธีในการวิเคราะห์และความรู้พื้นฐาน  แนะนำให้แบ่งตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ต้นยางเจิญเติบโตดี กับ ไม่ดี   โดยเลือกสวนที่คล้ายกัน ทั้งในการจัดการ และการได้รับผลกระทบ เช่น น้ำท่วม  เพื่อเปรียบเทียบกัน
สรุป จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน หรือสนใจจะปรับแก้ข้อเสนอโครงงานอีกก็ได้  ส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

2. การศึกษาหาวิธีการคลุมหน้าดินให้แก่ต้นยางพาราปลูกใหม่เพื่อนำไปใช้ได้จริง (PJR067)
ครูที่ปรึกษา นายสุวรรณ สุริยะป้อ
โรงเรียน ภูซางวิทยาคม จ.พะเยา

วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาวิธีการคลุมหน้าดินแก่ต้นยางปลูกใหม่ และสามารถนำวิธีนี้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง

วิเคราะห์

ในหน้าแล้ง ดินสูญเสียความชื้น  แต่สามารถรักษาความชื้นได้ด้วยการคลุมดินโดยใช้วัสดุต่าง ๆ  จึงสนใจศึกษาการคลุมดินให้ต้นยางปลูกใหม่ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น

วิธีการ  จะสำรวจการคลุมดินในสวนยางปลูกใหม่  หาวิธีคลุมดินที่ดี (ตัดสินใจด้วยข้อมูลอะไร)  นำมาทดลองและบันทึกการเก็บกักน้ำ (ทดลองอย่างไร ไม่ได้บอก )  และไปทดลองในสภาพจริง

ต้องกำหนด ว่าจะเลือกวัสดุคลุมดินอะไร มาใช้ศึกษา เลือก 2-3 ชนิด  โดยมีเหตุผลรองรับ เช่น ฟางข้าวเพราะมีมากในพื้นที่ มีปริมาณ……ตัน หรือพลาสติก  เพราะมีขายในท้องตลาด ราคาถูก

ทดลองเพื่อให้ได้ข้อมูล  [ อัตราการระเหยน้ำ ]  กับ [ชนิดดิน,  ชนิดวัสดุคลุม,  อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ,  ความเร็วลม ]   โดยทดลองกับดินในถุง ชั่งน้ำหนักที่หายไป   ทดลองกับดินที่ปลูกกล้ายาง  เปรียบเทียบกับการไม่คลุม  อาจศึกษาลงถึงการเปลี่ยนแปลงความชื้นของดิน ต่อ ความลึก  นอกจากนี้ความชื้นสัมพัทธ์อากาศ  อุณหภูมิ และความเร็วลมมีผลต่อการระเหยน้ำออกจากดิน
สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

3. การศึกษาปริมาณความชื้นและปริมาณน้ำยาง ในสวนยางที่มีต้นกล้วยแซม ของสวนยางที่อยู่ใกล้ทะเล (PJR081)
ครูที่ปรึกษา นางสาวบุษรินทร์ จิตเส้ง
โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จ.สตูล

วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาปริมาณความชื้นและปริมาณน้ำยาง ในสวนยางที่มีต้นกล้วยแซม ของสวนยางที่อยู่ใกล้ทะเล

วิเคราะห์

ความชื้นมีผลต่อปริมาณน้ำยาง จึงสนใจจะศึกษา [ความชื้น ] และ [ปริมาณน้ำยาง ]   ในแปลงยางที่มีต้นกล้วย ที่ยังเหลือไม่กี่ต้นหลังต้นยางโตเต็มที่ (แสดงว่าผลของต้นกล้วยมีน้อย)

วิธีการ  สำรวจต้นยางบริเวณใกล้ทะเล (ไม่มีเหตุผล เพราะตีความจากงานวิจัยเก่าผิด ) สัมภาษณ์ข้อมูล  เลือกสวนยางตัวอย่าง เก็บข้อมูลความชื้น ปริมาณน้ำยาง  2 ครั้ง/สัปดาห์  เป็นเวลา 5 เดือน สรุปผล

ความชื้นจะมีผลในช่วงหน้าแล้ง  ทำให้ต้องหยุดกรีดเร็วกว่าสวนที่รดน้ำ   ในช่วงหน้าฝนมีความชื้นมากในบรรยากาศ  การทดลองต้องเลือกช่วงเวลาด้วย เวลาทำโครงงานเป็นช่วงหน้าฝน ใช้สวนแปลงอื่นก็คงได้ข้อมูลไม่แตกต่างกัน

วิธีการทำโครงงานไม่นำไปสู่ความสัมพันธ์แท้จริง   เพราะมีไกล้วยม่กี่ต้นในสวนยาง  ไม่มีนัยสำคัญต่อการสร้างความชื้น   อิทธิพลของบรรยากาศภายนอกจะมีผลมากว่า คงไม่ได้ความรู้ที่น่าเชื่อถือ
สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  ส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

4. อิทธิพลของอุณหภูมิ ความเข้มของแสง ปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ที่มีผลต่อต้นยางพารา (PJR113)
ครูที่ปรึกษา นางสาวจิรฐา ทองแก้ว
โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

วัตถุประสงค์     1. เพื่อศึกษาการดูแลรักษาและการเติบโตของต้นยางในอดีต เปรียบเทียบกับปัจจุบัน
2. เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิ ความเข้มของแสง ปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์กับปริมาณน้ำยาง

วิเคราะห์

สภาพแวดล้อม มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา โครงการนี้จึงสนใจจะศึกษาอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณฝน ความเข้มแสง ต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำยาง พันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251

วิธีการ สุ่มเลือกสวนยาง 10 แปลง สัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้น เก็บข้อมูล (อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณฝน ความเข้มแสง)  ปริมาณยาง  %DRC จากยาง 10  ต้น

ยังไม่เห็นประโยชน์จากการมีข้อมูลเหล่านี้ เพราะเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้  อิทธิพลของดินอาจมีผลต่อการให้น้ำยาง มากกว่าการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
สรุป แนะนำให้ปรับข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

5. การศึกษาอิทธิพลของสภาวะน้ำท่วมขังที่มีต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นยางพาราพันธุ์ต่าง ๆ (PJR136)
ครูที่ปรึกษา นายศาสตรา สายสุนันทรารมย์
โรงเรียน ตูมใหญ่วิทยา จ.บุรีรัมย์

วัตถุประสงค์    เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นยางพาราพันธุ์ต่าง ๆ  เมื่ออยู่ในสภาวะน้ำท่วมขัง

วิเคราะห์

บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังในหน้าฝนเป็นเวลาหลายวัน จึงสนใจจะศึกษาการทนต่อสภาพน้ำของของต้นยางพารา

วิธีการ  ใช้ยางพาราชำถุง  พันธุ์  RRIT 251,  RRIM 600,  RRIM 600  (ยอดดำ)  และ  JVP 80 เพาะในกระถาง 40 ต้น เปรียบเทียบระหว่างปลูกปกติ กับปลูกในสภาพน้ำท่วม 28 วัน

เข้าใจว่าจะหา พันธุ์ที่ทนน้ำขัง  ยากเกินไปสำหรับนักเรียน การทดลองดังกล่าวคงไม่ได้คำตอบเชิงสมบูรณ์ แต่ได้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ   และผลการทดลองกับกล้ายางอาจไม่สามารถนำไปใช้อธิบายต้นยางใหญ่ได้

เชื่อว่า การจัดการเพื่อให้ยางทนต่อน้ำขังได้หลายวัน และฟื้นฟูเร็วหลังน้ำลด ไม่เป็นเชื้อราที่ระบบราก   จะมีประโยชน์มากกว่าหาพันธุ์ที่ทนน้ำ

แนะนำให้ใช้ข้อมูลจากการสอบถามเกษตรกร ว่ามีปัญหาอะไรในภาวะน้ำท่วมขัง และเขามีวิธีการจัดการอย่างไร  มีคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง  นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการฟื้นสภาพของสวนยางหลังน้ำท่วม
สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

6. การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของหญ้าปล้องอ้อยที่รดด้วยน้ำเสียจากการทำยางแผ่นและรดด้วยน้ำเสียจากลานมัน (PJR152)
ครูที่ปรึกษา นางสาวนัทญาภรณ์ ยอดสิงห์
โรงเรียน กัทราลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์    1. เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของหญ้าปล้องอ้อย(หญ้าสำหรับเลี้ยงโค)ที่รดด้วยน้ำเสียจากการทำยางแผ่นดิบและน้ำเสียจากลานมัน
2. เพื่อศึกษาการปลูกหญ้าปล้องอ้อยด้วยน้ำเสียจากการทำยางแผ่นและการปลูกหญ้าปล้อยอ้อยด้วยน้ำเสียจากลานมัน

วิเคราะห์

มีน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่น และส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ จึงสนใจจะนำมาปลูกหญ้าปล้องอ้อยสำหรับใช้เลี้ยงโค

วิธีการ  นำน้ำเสียจากการทำยางแผ่นมาทิ้งไว้ 1, 2, 3  สัปดาห์  หมักด้วยน้ำตาลและ EM เพาะหญ้าปล้องอ้อยในกระถาง 25 ใบ นำน้ำหมักไปรด 10 วัน  บันทึกการเจริญเติบโต (เก็บข้อมูลอะไรบ้าง)  แล้วเปลี่ยนเป็นน้ำเสียจากลานมัน

มีผลงานยุววิจัยเกี่ยวกับหญ้าปล้องอ้อย แต่ไม่ได้นำข้อมูลมาใช้ต่อยอด  ทำให้คล้ายกับคิดใหม่

โครงงานนี้ เป็นการทำ “น้ำหมัก” ใช้รดหญ้าปล้องอ้อย ซึ่งไม่ได้ความรู้ใหม่  และเป็นการเน้นหรือให้ความสำคัญกับหญ้าปล้องอ้อยมากกว่า “การบำบัดน้ำเสีย”

แนะนำให้เน้นการบำบัดน้ำเสีย แล้วให้หญ้าปล้องอ้อยเป็นผลทางอ้อม
สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

7. การศึกษาปริมาณความเข้มแสงที่มีผลต่อความสูงของต้นกล้ายางในท่อซีเมนต์ (PJR170)
ครูที่ปรึกษา นางสาวสุพลา ทองแป้น
โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จ.สตูล

วัตถุประสงค์     เพื่อศึกษาปริมาณความเข้มแสงที่มีผลต่อความสูงของต้นกล้ายางในท่อซีเมนต์

วิเคราะห์

การปลูกยางชำถุง ในโรงเพาะกล้ายาง จะมีการลดปริมาณแสงลงประมาณ 50%  โครงการนี้สนใจจะอาศัยแสงกระตุ้นให้ต้นยางยืด (แนวคิดคล้ายการปลูกผัก ไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้กับพืชยืนต้น เพราะต้องการความแข็งแรงของลำต้น ไม่ใช่ความสูง  อันเป็นผลมาจากระบบรากที่สมบูรณ์)

วิธีการ  จะทำโรงเพาะให้มีหลังคาโปร่งแสง 30%  50% และ 70%  นำต้นยางชำถุง  RRIT 251 และ RRIM 600 มาวางในท่อซีเมนต์ 5 ต้นต่อท่อ  บันทึกความสูงทุกสัปดาห์

โครงงานนี้ เป็นเพียงการพิสูจน์ว่า ต้นยางสูงหรือไม่ เมื่อปิดด้านข้างมีแสงเฉพาะต้านบน เพื่อเร่าความสูง  และไม่ได้สนใจความสมบูรณ์ของต้น

คาดว่าได้ความรู้ใหม่ไม่มากและต้นไม่แข็งแรง ยกเว้นมีข้อมูลมายืนยัน   แนะนำให้ไปถามปัญหาจริง จากการเพาะกล้ายาง   เพื่อนำมาสร้างโจทย์วิจัยใหม่
สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

8. ผลของน้ำทิ้งจากโรงงานแป้งมันต่อการเจริญเติบโตของยางพารา (PJR175)
ครูที่ปรึกษา นายเจษฎา นาจันทอง
โรงเรียน ท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์

วัตถุประสงค์    เพื่อศึกษาผลของน้ำทิ้งจากโรงงานแป้งมันต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา

วิเคราะห์

ในอำเภอท่าคันโท มีน้ำทิ้งจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังจำนวนมาก (ทิ้งอย่างไร)  และทำให้อ้อยและยางพาราในบริเวณนั้นมีใบเขียวและเจริญเติบโตได้ดี (เป็นปรากฏการณ์ที่เห็น)  จึงสนใจจะศึกษาเรื่องนี้

วิธีการ  จะวิเคราะห์องค์ประกอบและธาตุอาหารในน้ำทิ้ง (อาจสืบค้นข้อมูลได้ เพราะเขานำไปใช้เลี้ยงสาหร่าย) ทดลองนำน้ำทิ้งมารดน้ำต้นไม้ (ไม่ได้บอกว่ารดอย่างไร กับยางอายุเท่าใด  จำนวนกี่ต้น)  โดยใช้น้ำทิ้งจากการผลิต น้ำเสียในบ่อพัก รดต้นยางเปรียบเทียบกับน้ำธรรมดา   บันทึกการเจริญเติบโต  วิเคราะห์สมบัติของดิน

ปัญหานี้ไม่ใช่ “การเจริญเติบโตของยาง”  แต่เป็นหาวิธีการใช้น้ำทิ้งจากโรงงาน ที่อาจทดแทน “ปุ๋ยเคมี”  (ค่าสารอาหารจะเป็นตัวบอก)

การใช้น้ำทิ้งมาก ๆ จะเกิดผลข้างเคียง เช่น โตช้า   มีผลดีและผลเสียต่อดิน  (เก็บดินบริเวณบ่อน้ำเสียไปวิเคราะห์ก็คงจะทำได้)  ต้องรู้ว่ามีปริมาณน้ำทิ้งใช้วันละเท่าใด  ใช้รดสวนยางได้กี่ไร่  ขนน้ำไปรดไปรดอย่างไร จะคุ้มค่าหรือไม่
สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

9. ผลจากการปลูกสวนยางในพื้นที่ที่เคยปลูกสับปะรด ในเขตอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (PJR180)
ครูที่ปรึกษา นายอดิเรก มะสิน
โรงเรียน สามร้อยยอดวิทยาคม จ.ประจวบคีรีขันธ์

วัตถุประสงค์    1. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นยางพาราในพื้นที่ที่ปลูกสับปะรดมาก่อน
2. เพื่อศึกษาผลตอบแทนที่ได้รับการปลูกสวนยางพาราในพื้นที่ที่ปลูกสับปะรดมาก่อเปรียบเทียบกับ สวนยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ที่ไม่เคยปลูกสับปะรดมาก่อน
3. เพื่อศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจของเกษตรกรและส่งเสริมการปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้น

วิเคราะห์
ที่อำเภอกุยบุรี มีการเปลี่ยนแปลงไร่สับปะรดเป็นสวนยางพารา แม้ดินจะมีคุณภาพไม่ดี จึงสนใจจะศึกษาการเจริญเติบโตของการปลูกยางพาราในไร่สับปะรด

วิธีการ สำรวจสวนยางพาราและสัมภาษณ์เกษตรกร 50 ราย เก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์  บันทึกข้อมูลการเจริยเติบโตของต้นยางพารา ( ไม่บอกว่าเก็บข้อมูลอย่างไร ) และผลผลิต

มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกสับปะรดในสวนยางพารา

การปลูกยางในไร่สับปะรดก็คงไม่แตกต่างจากการปลูกพื้นที่อื่นเพราะขึ้นกับความสมบูรณ์ของดิน เช่น การปลูกในนาข้าว (ซึ่งมีข้อมูลแล้ว)

แนวคิดของโครงงานนี้จะทำให้ได้ความสัมพันธ์ [คุณภาพของดิน] กับ [การเจริญเติบโตของยาง, ผลผลิตน้ำยาง]  ควรเพิ่มอัตราการเติบโตของต้นยางพาราที่อายุต่าง ๆ เปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตมาตฐาน หรือสวนยางในพื้นที่ดินดี  โดยลดการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์ซึ่งได้เพียงข้อมูลการจัดการสวนและปัญหา

สรุป แนะนำปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

10. การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกล้ายางพาราที่ปลูกในขี้เลื่อยยางพาราผสมขุยมะพร้าวกับการปลูกกล้ายางพาราในดิน (PJR215)
ครูที่ปรึกษา นางสายสุดา สร้อยสวิง
โรงเรียน ภูซางวิทยาคม จ.พะเยา

วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาวิธีการเพาะต้นกล้ายางพาราโดยใช้วัสดุเพาะจากขุยมะพร้าวและขี้เลื่อยไม้ยางพารา

วิเคราะห์

มีการทำสวนยางกันมากในอำเภอภูซาง จึงเพาะกล้ายางด้วยดินเอง  แต่ทำให้ต้นยางโตช้าและตายมาก จึงสนใจจะใช้ขี้เลื่อยและขุยมะพร้าว เพราะมีความพรุนมากกว่าทำให้รากงอกเร็ว (ดีอาจมีราคาแพง)

วิธีการ  จะเพาะเม็ดยางพาราบนแกลบดำ 14 วัน แล้วย้ายมาชำในถุงซึ่งใช้วัสดุปลูกขี้เลื่อยและขุยมะพร้าว  บันทึกการเจริญเติบโตทุก 15 วัน (จำนวนใบ  ความสูง  ความยาวใบ และความกว้างทรงพุ่ม)  คาดว่าจะได้วิธีเพาะกล้ายาง (ไม่ถูกต้อง ควรจะได้วัสดุเพาะที่เหมาะสม)

การทำโครงงานนี้ ต้องการความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวัสดุเพาะกล้ายาง  ว่าทำไมเขาใช้ดิน  ราคาวัสดุอื่นอาจแพงกว่าดิน   ควรมีหลักฐานยืนยัน

การให้ได้วัสดุเพาะที่เหมาะสม  ขึ้นกับการออกแบบการทดลอง เพื่อหาสูตร  ซึ่งมีเงื่อนไขกำกับ คือ การเจริญเติบโตของ ปริมาณวัสดุในพื้นที่  ราคา และแรงงานที่ใช้ผสมและบรรจุถุง
สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

11. การศึกษาชนิดของวัสดุดูดซับน้ำช่วงฤดูแล้งที่มีผลต่อยางปลูกใหม่ (PJR248)
ครูที่ปรึกษา อาจารย์สุทิน เวทวงษ์
โรงเรียน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง จ.ระยอง

วัตถุประสงค์     1. เพื่อศึกษาชนิดของวัสดุดูดซับน้ำสำหรับยางปลูกใหม่
2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับน้ำของวัสดุแต่ละชนิด

วิเคราะห์

ปัญหาการปลูกยางใหม่ คือ การขาดน้ำ ในช่วงแล้ง ส่งผลให้ใบเหลือง ร่วง และตาย  จึงสนใจจะศึกษาชนิดของวัสดุดูดซับน้ำลดการตายของยางปลูกใหม่

วิธีการ จะใช้แกลบ เปลือกมะพร้าว ต้นกล้วย และอื่น ๆ มาคลุมดินในสวนยางปลูกใหม่ ชนิดละแปลง บันทึกปริมาณน้ำในดิน ที่ 7 วัน 15 วัน และ 30 วัน  เก็บข้อมูลขนาดลำต้น และเรือนพุ่ม

แนวคิดนี้ เป็นการหา “วัสดุคลุมดินที่เหมาะสม” เพื่อลดการระเหยของน้ำที่หน้าดิน  ถ้าจะศึกษาการเก็บกักน้ำที่วัสดุ ก็ต้องศึกษาข้อมูลปริมาณน้ำในตัววัสดุ  คู่แข่ง คือ การรดน้ำ

แนวทางการทดลองนี้ จะได้ข้อมูลไม่มาก และไม่สาารถสรุปเป็นความรู้ใหม่ได้

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

12. การศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์ยางพาราต่อผลผลิตยางพาราในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (PJR250)
ครูที่ปรึกษา สุชาติ สีต๊ะบุต
โรงเรียน ชยาภิวัฒน์วิทยา จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพันธุ์ยางพาราต่อผลผลิตยางพาราในอำเภอพาน  จังหวัดเชียงราย

วิเคราะห์

ปริมาณผลผลิตขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมของพื้นที่, พันธุ์ยางพารา และการจัดการสวนยางพารา เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีความรู้พันธุ์ยางพารา จึงสนใจจะเปรียบเทียบพันธุ์ยางพารากับผลผลิตยางพารา ในอำเภอพาน  จังหวัดเชียงราย

วิธีการ  จะสุ่มสวนยางพารา 6  สวน  บันทึกพันธุ์ยางพารา และ ปริมาณน้ำยางที่เก็บได้ ในแต่ละวัน  เป็นระยะเวลา  3  เดือน

แนวการดำเนินงานของโครงงานนี้ไม่น่าจะทำให้ได้ความรู้ใหม่  เพราะมีข้อมูลพันธุ์ยางที่สถาบันวิจัยยางอยู่แล้ว และการเลือกพันธุ์ยางปลูกก็สามารถไปขอคำแนะนำจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย) ได้ เขาคงไม่เชื่อในข้อมูลของเรา จึงควรหลีกเลี่ยง
สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งข้อเสนอโครงการใหม่ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

13. การศึกษาธาตุอาหารในดินและสภาพของดินต่อผลผลิตยางพาราในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (PJR251)
ครูที่ปรึกษา วนิดา ต๊ะล้อม
โรงเรียน ชยาภิวัฒน์วิทยา จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาธาตุอาหารในดินและสภาพของดินที่มีต่อผลผลิตยางพาราในอำเภอพาน  จังหวัดเชียงราย

วิเคราะห์
ยางพาราทำให้เกษตรกรมีรายได้ ไม่ต้องออกไปทำงานนอกพื้นที่ แต่ยังไม่เข้าใจการเลือกพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม (เพราะ มีพื้นที่อยู่แล้ว)  โครงงานนี้จึงสนใจการศึกษาธาตุอาหารในดินต่อการเจริญเติบโตของยางพารา

วิธีการ จะสุ่มเก็บตัวอย่างจากสวน 6 แปลง บันทึกปริมาณน้ำยางทุกวันเป็นเวลา  3 เดือน (ไม่น่าจะให้ผลแตกต่างจากการเก็บข้อมูลระยะสั้น นอกจากจะศึกษาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม) เก็บดินตัวอย่างมาวิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก

คิดว่าจะได้ความสัมพันธ์ [ ธาตุอาหารในดิน] กับ [ปริมาณน้ำยางต่อไร่]  ยังไม่เห็นประโยชน์ หรือจะใช้แก้ปัญหาอะไร  ควรจะมีเป้าหมายชัดเจนก่อน

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

14. การศึกษาระดับอุณหภูมิต่อผลผลิตยางพาราในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (PJR252)
ครูที่ปรึกษา วนิดา ต๊ะล้อม
โรงเรียน ชยาภิวัฒน์วิทยา จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาระดับอุณหภูมิต่อผลผลิตยางพาราในอำเภอพาน  จังหวัดเชียงราย

วิเคราะห์

โครงงานนี้สนใจจะศึกษา [ระดับอุณหภูมิ] กับ [ปริมาณน้ำยาง]

วิธีการ สุ่มตัวอย่างสวนยาง 6 สวน บันทึกอุณหภูมิและปริมาณน้ำยาง เป็นเวลา 3 เดือน แล้วสรุปผล

ข้อมูลที่ได้มีเพียงความสัมพันธ์เดียว อุณหภูมิ กับ ปริมาณน้ำยาง  ซึ่งไม่มีประโยชน์ เพราะเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิในสวนยางได้     โครงงานนี้เป็นเพียงการทดลองหนึ่ง ยังไม่เป็นโครงงานที่ต้องได้ความรู้ใหม่
สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งข้อเสนอโครงงานภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

15. การดีดตัวของฟักยางพารา (PJR258)
ครูที่ปรึกษา นายตระกูล บุญชิต
โรงเรียน ศรีแก้วพิทยา จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์  ศึกษารูปแบบการแตกฟักของยางพารา ทั้งโครงสร้างทางกายภาพ  สัญฐานวิทยาและทางฟิสิกส์

วิเคราะห์

จากประสบการณ์ศึกษาการแตกตัวของฟักต้อยติ่ง  จึงสนใจจะนำมาประยุกต์ใช้ศึกษาการแตกตัวของผลยางพารา

วิธีการ  ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแตกตัวของผลยางพารา (เขียนมาเพียงหัวข้อ ไม่มีรายละเอียดว่าจะทำอย่างไร)  ศึกษาปัจจัยด้านฟิสิกส์ แรงดีด ระยะที่เมล็ดไปไกล เพื่อหารูปแบบการแตก

ความรู้ที่ได้เป็นความรู้พื้นฐาน ไม่แน่ใจว่าจะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง  โครงการยุววิจัยยางพาราเป็นงานเชิงประยุกต์ ที่เน้นการใช้งานได้  มีประโยชน์และใช้แก้ปัญหา
สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน หรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 255

//////////////////////////////////

16. ผลของต้นผักก้านจองต่อยางพารา (PJR279)
ครูที่ปรึกษา นางสุทธิรัตน์ ศรีสงคราม
โรงเรียน บึงโขงหลงวิทยาคม จ.บึงกาฬ

วัตถุประสงค์    ศึกษาผลของต้นผักก้านจองต่อยางพารา

วิเคราะห์

การทำยางชำถุง ใช้น้ำจืด  ปุ๋ย และสารเคมี  ในพื้นที่มีผักก้านจอง (ตาลปัตรฤๅษี) ซึ่งเป็นพืชล้มลุกอยูในน้ำ สามารถดูดซับน้ำไว้ได้  เมื่อนำมาผสมกับดินที่ใช้ในถุงกล้ายางพารา  จะช่วยดูดซับน้ำและทำให้ดินมีความชื้นได้

วิธีการ จะศึกษาข้อมูลทั่วไปของผักกาดจอง,  ศึกษาผลของน้ำสกัดยับยั้งโรคยางพารา,  ศึกษาการใช้ผักกาดจองเป็นวัสดุปลูก สำหรับเพาะกล้ายาง โดยเปรียบเทียบกับการใช้ดิน (ได้สารอาหาร กับ การเจริญเติบโตของกล้ายาง)

แนวคิดของโครงงานนี้ จะหาวิธีใช้ประโยชน์ “ผักกาดจอง” กับยางพารา โดยยังไม่มีข้อมูลพื้นฐาน

คำถามคือ มีผักนี้ปริมาณเท่าใด  จะเสียค่าใช้จ่ายเท่าใดในการเก็บมาใช้  อาจจะคล้ายกับผักตบชวา

การตั้งสมุติฐานว่า น้ำสกัดผักกาดจอง ยับยั้งโรคยางพาราได้ อาจต้องออกแบบการทดลองที่รัดกุมกว่านี้ เพื่อตอบคำถาม  ที่สำคัญคือ มีข้อมูลเบื้องต้นอะไรบ้าง

คงต้องเลือกว่าจะศึกษาอะไร  การยับยั้งโรคยางพารา หรือการใช้เป็นวัสดุปลูก เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่นักเรียนมากเกินไป
สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

//////////////////////////////////

ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพารา ปี 2555 : กลุ่มที่ 16 ดินกับสวนยางพารา ( 5 เรื่อง )

กล่าวนำ

ดินในสวนยางพารา ยังมีประเด็นให้ศึกษาได้อีกเยอะ  โดยการทำความเข้าใจ “ปัญหาจริง”  ซึ่งจะเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นด้วยตา หรือฟังจากเกษตรกร  สิ่งที่ท้าทายมาก คือ การวิเคราะห์ให้เห็นสาเหตุ

แนะนำให้นักเรียนใช้กระบวนการกลุ่มในห้องเรียน ช่วยกันคิดทั้งห้อง เพื่อดึงความรู้จากประสบการณ์จริงของเพื่อนมาใช้ หรือถกเถียงจากกรอบหลักการหรือทฤษฎีก็ได้  เพราะการเห็นต่างจะทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ เมื่อลดอัตตาลง

เราต้องพัฒนาการวิเคราะห์ ให้สามารถสาวลึกลงไป จนเห็นคู่ความสัมพันธ์ระหว่าง “เหตุนี้” ทำให้เกิด “สิ่งนี้”  จากนั้นจึงออกแบบเก็บข้อมูลสำหรับใช้อธิบายความสัมพันธ์ดังกล่าว เช่น ชนิดของพืชแซมและการจัดการ กับ การเจริญเติบโตของต้นยางพารา,  ปริมาณกรดจากถ้วยรับน้ำยาง กับ  ดินเสื่อมและน้ำยางลด,  วัสดุเหลือทิ้ง กับ การทำเป็นปุ๋ยยางพารา  และอื่น ๆ

ไพโรจน์ คีรีรัตน์
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ม.สงขลานครินทร์

5 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////

1. การศึกษาสมบัติของดินและการจัดการดินในแปลงปลูกยางพาราในพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน (PJR011)

ครูที่ปรึกษา นางสุพัฒตา โนทะนะ
โรงเรียน นาน้อย จ.น่าน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสมบัติของดินในแปลงปลูกยางพาราในสภาพพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
2. เพื่อศึกษาการจัดการดินของเกษตรกรในแปลงปลูกยางพาราในพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

วิเคราะห์

ผลผลิตน้ำยางขึ้นกับปัจจัย 3 ประการ คือ พื้นที่ พันธุ์ และการจัดการ จังหวัดน่านมีพื้นที่ปลูกยางพารา 54,600 ไร่  โครงงานนี้สนใจจะศึกษาสมบัติดินและการจัดการดิน ในอำเภอนาน้อย จ.น่าน

วิธีการ จะแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 4 โซน สุุ่มตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ธาตุอาหาร   ใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการดิน  นำข้อมูลมาวิเคราะห์

ได้สารอาหารในดิน  และ การจัดการของชาวบ้าน  แล้วจะมีประโยชน์อะไร  ยังเห็นไม่ชัดสำหรับโครงงานนี้  ถ้าศึกษาเพื่อการใส่ปุ๋ยยางพารา ก็มีความรู้อยู่แล้ว เรื่องนี้จะไม่เป็นความรู้ใหม่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

2. การศึกษาคุณสมบัติของดินที่ใช้ปลูกพืชแซมในสวนยางพารา ในเขตพื้นที่ ตำบลน้ำคำ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร (PJR083)
ครูที่ปรึกษา นายกิตติชัย บุษราคัม
โรงเรียน น้ำคำวิทยาคาร จ.ยโสธร

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาคุณสมบัติของดินที่ใช้ปลูกพืชแซมในสวนยางพารา และเปรียบเทียบกับดินที่ไม่มีการปลูกพืชแซม ในพื้นที่ตำบลน้ำคำ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร

วิเคราะห์

เกษตรกรชาวยโสธรหันมาปลูกยางพารากันมาก บางกลุ่มปลูกพืชแซมในสวนยางพารา เช่น ถั่วลิสง มันสำปะหลัง  โครงงานนี้จึงสนใจศึกษาสมบัติดินที่ใช้ปลูกพืชแซม

วิธีการ จะเก็บข้อมูลเบื้องต้นของเกษตรกรชาวสวนยางพารา เก็บข้อมูลดินไปวิเคราะห์ สี  pH  และธาตุอาหาร เปรียบเทียบระหว่างดินที่ไม่ปลูกพืชแซม ดินที่ปลูกถั่วลิสง และดินที่ปลูกมันสำปะหลัง (ไม่บอกว่าจะทดลองกี่ตัวอย่าง)

การปลูกพืชแซม กับ ธาตุอาหารในดิน เข้าใจว่ามีข้อมูลพอสมควร  จนมีข้อแนะนำว่าควรปลูกห่างจากต้นยาง  คาดว่าไม่ได้ความรู้ใหม่จากโครงงานนี้

พืชแซม กับ การเติบโตของต้นยาง จะได้ความรู้มากกว่า

สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

3. บำรุงดินด้วยกากปลาร้า (PJR092)
ครูที่ปรึกษา นางกาญจนา ทองจบ
โรงเรียน ชุมพลโพนพิสัย จ.หนองคาย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสม ในการทำน้ำหมักบำรุงดินจากกากปลาร้า
2.เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ในท้องถิ่น (เป็นผลของข้อ 1)
3.เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง (เป็นผลของข้อ 1)

วิเคราะห์

มีการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ในการบำรุงดิน  กากปลาร้ามีธาตุแคลเซียม (แต่พืชต้องการ N P K ) จึงสนใจนำกากปลาร้ามาทำปุ๋ย

วิธีการ  จะศึกษาอัตราส่วนของกากปลาร้า : กากน้ำตาล : พด.2 : น้ำ   โดยนำแต่ละอัตราส่วนไปทดลองกับต้นยาง 3 ต้น (น้อยเกินไป  ควรมากกว่า 5 ต้น) และเปรียบเทียบผล

วิธีการที่เสนอมาเป็นการหาสูตรน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเรามีความรู้อยู่มากแล้ว ไม่ได้ความรู้ใหม่   น่าจะอัดปุ๋ยเม็ด อาจจะเหมาะสมกว่า ใช้ง่ายกว่าปุ๋ยน้ำ

ความรู้พื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็น ต้องรู้ก่อนว่าในกากปลาร้าประกอบด้วยสารอะไรบ้าง  ปรับสูตรให้เหมาะสมเป็นปุ๋ย  อัดเม็ด เปรียบเทียบกับ ทำน้ำหมัก ทดลองกับพืช 2-3  ชนิด กล้ายาง ข้าวโพด (เพราะไวต่อปุ๋ย)   และศึกษาต้นทุนในการทำปุ๋ย

สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

4. การเปรียบเทียบคุณภาพของดินในสวนยางพาราที่ปลูกพืชแซม และไม่ปลูกพืชแซม (PJR183)
ครูที่ปรึกษา นายศิริชัย ศรีหาตา
โรงเรียน ท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาคุณภาพของดินในสวนยางพารา ของเกษตรกรในเขตอำเภอท่าคันโท
2. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของดินในสวนยางพาราที่มีการปลูกพืชแซมและไม่มีการปลูกพืชแซม
3. เพื่อศึกษาวิธีการบำรุงรักษาดินในสวนยางพารา ให้มีคุณภาพดินดี จากเกษตรกรตัวอย่าง

วิเคราะห์

การปลูกพืชแซมในสวนยาง ทำให้มีรายได้เสริม  เกษตรกรมีความเชื่อว่า การปลูกพืชแซมจะแย่งอาหารจากยางพารา ทำให้ดินด้อยคุณภาพลง จึงสนใจปริมาณธาตุอาหารหลัก pH และการปรับปรุงดิน

วิเคราะห์

เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปลูกพืชแซม กับ กลุ่มไม่ปลูกพืชแซม นำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์  ลงพื้นที่ศึกษาการบำรุงดิน

ควรจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ตามวิธีการจัดการที่มีลักษระคล้ายกัน หลีกเลี่ยงการใช้แบบสอบถาม ให้ใช้การเก็บข้อมูลปฐมภูมิ เพื่ออธิบาย [ ชนิดพืชแซม การจัดการ ]  กับ [ การเจริญเติบโตของยาง  สมบัติดิน  (ธาตุอาหาร ความพรุน ความชื้น …) ต้นทุน ]    เปรียบเทียบกับสวนที่ไม่ปลูกพืชแซม   ข้อแนะนำของสกย.  คงจะทำให้ได้ความรู้ใหม่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

5. ศึกษาคุณภาพของดินบริเวณที่มีการทำยางก้อนถ้วยด้วยกรดฟอร์มิก (PJR203)
ครูที่ปรึกษา นางรัชนี พรมจันทร์
โรงเรียน แกลง “วิทยสถาวร” จ.ระยอง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาค่า pH,ความชื้นในดินและอุณหภูมิของดินบริเวณรอบๆโคนต้นยางพาราที่มีน้ำยางออกกับต้นยางหน้าตาย
2. ศึกษาธาตุอาหารในดินบริเวณรอบๆโคนต้นยางน้ำยางออกดีกับต้นยางหน้าตาย

วิเคราะห์

ในอำเภอแกลง ทำยางก้อนถ้วยเป็นจำนวนมาก น้ำที่เหลือจากถ้วยถูกเทลงบริเวณโคนต้นยาง  ทำให้บางต้นยางออกดี บางต้นยางหน้าตาย จึงสนใจศึกษาคุณภาพของดินรอบ ๆ ต้นยางพารา

วิธีการ  ลงสำรวจพื้นที่  เลือกต้นยางตาย 10 ต้น  ต้นยางดี 10 ต้น  วัดค่า pH  ความชื้น  อุณหภูมิ  ห่างจากโคนต้น 35 cm

การเก็บข้อมูลจากปรากฏการณ์ที่เห็น อาจไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้นยางอาจตายจากสาเหตุอื่น เช่น ปลวก  โรคเชื้อรา  และอื่น ๆ  เราจะกรองให้เหลือต้นยางที่ตายจากสาเหตุกรดได้อย่างไร

เราอาจหันกลัมมาศึกษาในอีกมุม  คือ วัดปริมาณกรดที่เหลือจากถ้วยรับน้ำยาง แล้วประเมินว่าสามารถทำให้ดินเสียได้หรือไม่  การแพร่กระจายของกรด  การสลายตัวเมื่อฝนตก   ทดลองใส่กรดกับพืชเพื่อศึกษาผลสนองตอบ

ความรู้ใหม่ ได้จากศึกษาที่ตัวกรด  ติดตามไปที่ดิน  ดูการแพร่กระจายและการสลายตัว ประเมินว่าสร้างผลกระทบต่อต้นยางหรือไม่  หาวิธีแก้ที่การใช้กรด และการสลายความเป็นกรดที่ดิน

สรุป  แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพารา ปี 2555 : กลุ่มที่ 15 ต้นทุนและผลตอบแทน ( 9 เรื่อง )

แนะนำ

การศึกษาเกี่ยวกับ ต้นทุน  ผลตอบแทน แรงจูงใจ และการตัดสินใจ จะได้เพียงข้อมูลทั่วไป ซึ่งมีความรู้อยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ ในเรื่องเดิมเราอาจสร้างความใหม่ได้ เช่น มองจากมุมของผลกระทบ  ความเสี่ยงในอนาคต  ใช้วิธีการใหม่ที่ไม่ใช่แบบสอบถาม  หรืออื่น ๆ  พยายามให้ได้ความรู้เฉพาะ

สามารถสร้างโจทย์ได้ง่ายมาก โดยการนำ “ปัญหาจริง” มาเป็นหัวข้อโครงงาน  ซึ่งสอบถามปัญหาได้จาก สกย. หรือเกษตรกร   การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตช่องทางเดียว จะได้ความรู้ที่ผู้อื่นทำไว้ ไม่เจอปัญหาจริง

ไพโรจน์  คีรีรัตน์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4  สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

1. การเปรียบเทียบรูปแบบของต้นทุนที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายสำหรับการทำสวนยางพาราก่อนถึงระยะกรีดยาง (PJR213)
ครูที่ปรึกษา นายสิริพงษ์ มณีวงศ์
โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จ.หนองบัวลำภู
วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาสมการในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความเพียงพอของเงินทุนกับค่าใช้จ่ายสำหรับการทำสวนยางพารา
2. เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความเพียงพอของเงินทุนกับค่าใช้จ่ายสำหรับการทำสวนยางพาราในแต่ละปีก่อนถึงระยะกรีดยาง ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกษตรกรสวนยางสามารถนำไปปรับใช้ในการทำสวนยางพาราของตน

วิเคราะห์

ในการทำสวนยาง จะต้องจัดหาเงินมาลงทุนนาน 7 ปี ก่อนกรีดยางได้   โครงงานนี้จึงสนใจการลงทุนก่อนกรีด

วิธีการ จะสร้างสมการใช้เปรียบเทียบต้นทุน จากการทำสวนและรายได้เสริมต่าง ๆ จากสวนยางพารา โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (ควรใช้ข้อมูลในพื้นที่ จะแม่นยำกว่า)  สมการอาจประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ในเทอมของราคาของพืช/สัตว์ ปุ๋ย  สารเคมี ระยะทางของพื้นที่ทำสวน ซึ่งเป็นตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์    จึงจะทำให้คำนวณได้ตรงกับสถาณการณ์จริง

แนะนำให้แสดงสมการที่จะใช้การครั้งนี้  เพราะเป็นหัวใจสำคัญ   และควรมีมีการทดลองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของสมการ ด้วยข้อมูลจริงในพื้นที่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่  20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

2. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายางในตลาดยางพารา กรณีศึกษาตลาดยางพารา อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด (PJR191)
ครูที่ปรึกษา นางนภาพร ลี้นาวามงคล
โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม “จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์” จ.ตราด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อราคายางในตลาดยางพารา
2. เพื่อวิเคราะห์หากลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรผู้จำหน่ายยางพาราเพื่อลดความเสียเปรียบในการจำหน่ายผลผลิต

วิเคราะห์

การรู้ว่าปัจจัยอะไร มีผลต่อราคายางพารา เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจขายยาง ระบบข่าวสารระหว่างตลาดกลางกับตลาดท้องถิ่น ช่วยลดความเสียเปรียบให้แก่เกษตรกร ซึ่งเกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  จึงสนใจศึกษาโครงสร้างของตลาด รูปแบบการต่อรอง ปัจจัยที่มีผลต่อราคา

วิธีการ จะศึกษาผลผลิตยางแผ่นดิบ น้ำยางสด และเศษยาง (น่าจะเป็นยางก้อนถ้วย) โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรในอำเภอเขาสมิง จ.ตราด 3,848 ครอบครัว (อาจมากเกินไป) และพ่อค้าคนกลาง 6 ราย เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม

ไม่แน่ใจว่าวิธีการนี้จะทำให้ได้ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อราคา  เพราะกลไกของตลาดยางซับซ้อน เกินกว่าชาวสวนหรือนักเรียนจะเข้าใจได้  เพราะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานระดับหนึ่ง

ถ้าเปลี่ยนเป้าหมาย เป็นการศึกษาปัจจัยการรวมกลุ่ม และรูปแบบการขายยางของกลุ่ม จะง่ายกว่า และอยู่ในวิสัยที่จะทำได้

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

3.การเพิ่มรายได้เกษตรกร (PJR133)
ครูที่ปรึกษา นายสุบินทร์ สุขศรีเพ็ง
โรงเรียนวังวิเศษ จ.ตรัง

วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบราคาระหว่างน้ำยาง ยางแผ่น และเศษยาง ว่าจะมีความแตกต่างกันหรือไม่

วิเคราะห์

สมัยก่อนมีการทำยางแผ่นดิบที่บ้าน  ปัจจุบันเกษตรกรรวมกลุ่มกันทำยางแผ่นรมควันเพื่อทำคุณภาพให้ใกล้เคียงกัน  แต่ก็มีปัญหาการบริหารจัดการ  ต่อมากลายเป็นรวมกันเพื่อขายในรูปของน้ำยางสด  แม้จะมีราคาน้ำยางสดจะต่ำกว่ายางแผ่น  นอกจากนี้ก็มีการทำเศษยาง (น่าจะเป็นยางก้อนถ้วย)  โครงการนี้สนใจจะศึกษาราคาขายของยางแต่ละชนิด

วิธีการ  จะนำน้ำยางสด 30 ลิตร มาแบ่งผลิตเป็นยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และน้ำยางสด แล้วนำไปขาย ช่วงเวลาคงต่างกันมีผลต่อราคาซึ่งเพิ่มหรือลดในแต่ละวัน ทำซ้ำ 3 ครั้ง

การหาความแตกต่างของราคา ไม่จำเป็นต้องทำวิจัยหรือโครงงาน  เพียงไปถามพ่อค้าว่า ยางเกรดดีที่สุด เกรดกลาง และเกรดต่ำ ของแต่ละชนิด มีราคาเท่าใด ก็ได้ข้อมูลความแตกต่างแล้ว  ความต้องการใช้ยางแต่ละชนิดยังเป็นกลไกทำให้ในบางครั้งยางบางชนิดมีราคาสูงผิดปกติ

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่อวอื่น และส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

4. การศึกษาผลตอบแทนของการปลูกมันสำปะหลังในสวนยางพาราปลูกใหม่ในพื้นที่ตำบลน้ำคำ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร (PJR084)
ครูที่ปรึกษา นายกิตติชัย บุษราคัม
โรงเรียนน้ำคำวิทยา จ.ยโสธร

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลตอบแทนของการปลูกมันสำปะหลัง (พันธุ์เกษตรศาสตร์ พันธุ์ห้วยบง และพันธุ์ CMR ) ในสวนยางพาราปลูกใหม่ในพื้นที่ตำบลน้ำคำ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร

วิเคราะห์

การปลูกพืชแซมในสวนยางพารา ต้องคำนึงถึงตลาด แรงงาน เงินทุุน ขนาดพื้นที่ และการคมนาคม  ชาวสวนยาง ต.น้ำคำ อ.ไทยเจริญ จ.ยโสธร นิยมปลูกมันสัมปะหลัง เพราะรายได้ดี พันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูก คือ พันธุ็เกษตรศาสตร์ พันธุ์ห้วยบง และพันธุ์ CMR  โครงการนี้จึงสนใจจะศึกษาผลตอบแทนของมันสำปะหลังทั้งสามพันธุ์

วิธีการ จะใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล (ไม่ได้ระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่าง)

ในการปลูกมันสัมปะหลัง  เกษตรกรใช้ประสบการณ์ทางปฏิบัติเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ซึ่งถือว่าเหมาะสมตามบริบทของเขา

ในหัวข้อความสำคัญ ยังไม่เห็นปัญหาที่จะต้องทำโครงงาน    และคำตอบที่ได้จากการทำครั้งนี้ คาดว่าไม่ได้ความรู้ใหม่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

5. การศึกษาศักยภาพธุรกิจการผลิตยางแผ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช (PJR035)
ครูที่ปรึกษา นายบัชชิรีน หัดจำนงค์
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและต้นทุนการผลิตยางพาราแผ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. เพื่อศึกษาศักยภาพของธุรกิจการผลิตยางพาราแผ่นของเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช
3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการผลิตยางพาราแผ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช

วิเคราะห์

โครงงานนี้สนใจจะศึกษาธุรกิจการผลิตยางแผ่นดิบ เพื่ออธิบายเส้นทางการตลาด

วิธีการ จะศึกษากระบวนการผลิต (พื้นที่ปลูก  พันธุ์  การปลูก  การบำรุงรักษา การใช้ปุ๋ย การกรีด และการทำยางแผ่น)   ต้นทุนการผลิต  ศักยภาพ (ผลตอบแทน ช่องทางจำหน่าย)  ปัญหาและอุปสรรค (ภัยธรรมชาติ โรคและแมลง แรงงาน และอื่น ๆ)  ไม่ได้บอกว่าจะเก็บข้อมูลอะไร จากกี่ตัวอย่าง

เป็นโครงงานที่กว้างเกินไป ไม่มีจุดเน้น  จะทำให้ได้ข้อมูลแต่ไม่ได้ความรู้ใหม่  เป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลทั่วไป ไม่มีประโยชน์

ควรจะตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าความรู้ใหม่ที่ต้องการคืออะไร ที่มีลักษณะเฉพาะ ไม่กว้างหรือแคบเกินไป

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

6. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราของเกษตรกร สวนยางพารากรณีศึกษาพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (PJR016)
ครูที่ปรึกษา ว่าที่ ร.ต.นิพนธ์ ประทุมวงค์
โรงเรียนมัธยมบักดองวิทยา จ.ศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราของเกษตรกรสวนยางพารา กรณีศึกษาพื้นที่ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
2. เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราของเกษตรกรพื้นที่ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

วิเคราะห์

มีการปลูกยางพารากันมากในพื้นที่ แต่เกษตรกรขาดการวิเคราะห์ปัจจัยสำหรับใช้ตัดสินใจปลูก  จึงสนใจจะศึกษาเรื่องนี้

วิธีการ จะสุุมสำรวจเกษตรกรในทุกตำบล โดยใช้แบบสอบถาม  สืบค้นข้อมูลและสอบถามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ภายใต้ 4 ปัจจัย คือ ด้านกายภาพ  เศรษฐกิจ  สังคม และเทคนิค

ปัจจัยในการตัดสินใจ คงมีคล้าย ๆกันในทุกพื้นที่  มีความแตกต่างบ้างตามบริบทของพื้นที่แต่ไม่มาก   เรื่องนี้มีข้อมูลอยู่มากแล้ว

การเปลี่ยนมาปลูกยางพารามีข้อดีอย่างหนึ่ง คือ มีพี่เลี้ยง สกย. ให้คำแนะนำตลอดเวลา

แนะนำให้ใช้ “ปัญหาจริง” ของเกษตรกร มาสร้างเป็นโจทย์จะง่ายกว่า

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น และส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

7. การศึกษาผลกระทบของการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราที่มีต่อพืชเศรษฐกิจในท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย: กรณีศึกษาลิ้นจี่และลำไย (PJR008)
ครูที่ปรึกษา นายเกียรติศักดิ์ อินราษฏร
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ สพม. 36 จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรมีการลดพื้นที่ปลูกลิ้นจี่และลำไยเพื่อปลูกยางพาราทดแทนในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
2. เพื่อศึกษาผลตอบแทนและแนวโน้มของสภาพการตลาดของการปลูกยางพารา ลิ้นจี่และลำไยในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
3. เพื่อศึกษาผลสภาพแวดล้อมในพื้นที่และประสบการณ์พื้นฐานของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่และลำไยที่มีต่อการปลูกยางพารา

วิเคราะห์

การขยายพื้นที่ปลูกยาง มีผลทำให้พื้นที่สวนลำไย และลิ้นจี่ลดลง จึงสนใจจะศึกษาแรงจูงใจและสภาพปัญหาในการเปลี่ยนมาปลูกยางพารา

วิธีการ (1) ใช้ตัวอย่างเกษตรกรสวนลิ้นจี่ สวนลำใย และสวนยางพารา อย่างละ 10 ราย ในการลงเก็บข้อมูล แรงจูงใจ ผลตอบแทน แนวโน้มของตลาด  (2) สืบค้นราคาขายของพืชทั้งสามชนิด ย้อนหลัง 5 ปี  (3) ศึกษาสภาพภูมิอากาศ ความเข้มแสง และสารอาหารในดิน

อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน ที่เปลี่ยนแปลงไป  อาจส่งผลต่อปริมาณผลผลิตของพืชแต่ละชนิด

แรงจูงใจไม่ใช่คำตอบสำคัญ แต่ผลกระทบในอนาคตสำคัญกว่า เช่น เมื่อยางราคาตก  ราคาต่ำเท่าใดจึงจะเสียเปรียบ

ถ้าจะปลูกพืชทั้งสองชนิด เพื่อป้องกันความเสี่ยง ควรจะปลูกอย่างไร จึงจะเหมาะสมตามขนาดพื้นที่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

8. การศึกษาเปรียบเทียบการเพาะเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้าและเห็ดหูหนูจากขอนไม้ยางพาราและไม้ชนิดอื่นในท้องถิ่น (PJR285)
ครูที่ปรึกษา นางอำพร ทองหล่อ
โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเห็ดแต่ละชนิดบนขอนไม้ยางงพาราและไม้ชนิดอื่นในท้องถิ่น

วิเคราะห์

ฟางข้าวมีราคาแพง จึงสนใจจะปลูกเห็ดด้วยขอนไม้ (ขอนไม้จะแพงกว่าฟาง)

วิธีการ  จะเจาะรูที่ขอนไม้ แล้วเอาเชื้อเห็ดใส่  วางในที่ร่ม  (เป็นวิธีการทั่วไป)  ไม่เหมาะกับการเพาะเชิงพาณิชย์ เข้าใจว่ามีความรู้อยู่พอสมควรแล้ว ไม่ใช่ความรู้ใหม่  และเป็นวิธีการที่ไม่สามารถสู้ได้กับการเพาะด้วยก้อนวัสดุเพาะที่มีขี้เลื่อยเป็นส่วนผสม

สรุป  แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

9. แรงจูงใจในกระบวนการตัดสินใจเปลี่ยนจากเกษตรทั่วไปสู่ยางพารา ของเกษตรกรสวนยางพารา ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี (PJR051)
ครูที่ปรึกษา นายสมศักดิ์ วรรณขาม
โรงเรียนกุดจับประชาสรรค์ จ.อุดรธานี

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการตัดสินใจเปลี่ยนจากเกษตรทั่วไปสู่ยางพาราของเกษตรกรสวนยางพารา ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

วิเคราะห์

มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพารามากขึ้น และมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ในการขายยาง จึงสนใจจะศึกษาแรงจูงใจและการตัดสินใจของเกษตรกรที่เปลี่ยนอาชีพมาทำสวนยางพารา

วิธีการ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม  โดยสุ่มเลือกเกษตรกรตำบลละ 5 ราย รวม 35 ราย

แรงจูงใจ และ การตัดสินใจ  มีข้อมูลอยู่พอสมควรแล้ว และคงจะคล้ายกันทุกพื้นที่  แม้มีความแตกต่างบ้างตามบริบทพื้นที่แต่ก็ไม่มาก  การทำโครงงานเรื่องนี้จะไม่ได้ความรู้ใหม่

แนะนให้ศึกษา “ปัญหาจริง” ของชาวสวนยาง เพื่อนำมาเป็นโจทย์หรือหัวข้อโครงงาน

สรุป  แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งข้อเสนอโครงงานใหม่ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////////

ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพารา ปี 2555 : กลุ่มที่ 14 วิถีชีวิตของชาวสวนยางพารา ( 5 เรื่อง )

กล่าวนำ

การมองผ่านกรอบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม อาจไม่เพียงพอสำหรับอธิบายวิถีชีวิต    การมีพฤติกรรมดีหรือไม่ดีขึ้นกับกระบวนการคิดและความเชื่อ (ถ้าสามารถเก็บข้อมูลได้)  ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง จากสื่อต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญกำกับวิถีชีวิต

การมีหลักคิดและปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี  การมีความรู้ และมีคุณธรรม) จะทำให้มีความสุขจากอุปนิสัยพอเพียง   การมองผ่านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอาจทำให้อธิบายวิถีชีวิตที่ยั่งยืนและมีความสุขได้

ไพโรจน์  คีรีรัตน์
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

1. การศึกษาปัจจัยและแนวความคิดต่อการปลูกยางพาราของเกษตรกร ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน (PJR046)
ครูที่ปรึกษา นายมานพ มาสุข
โรงเรียน มัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาสมบัติของดินในแปลงปลูกยางพาราในสภาพพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
2. เพื่อศึกษาการจัดการดินของเกษตรกรในแปลงปลูกยางพาราในพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
วิเคราะห์

เกษตรกรน่าน มีอาชีพหลักทำไร่ข้าวโพดและไร่ข้าว แบบไร่เลื่อนลอย ทำให้มีการบุกรุกป่าซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำท่วม   จึงสนใจจะศึกษาแนวคิดต่อการปลูกยางพารา ของเกษตรกรตำบลห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน

วิธีการ (1) ศึกษาบริบททางสังคมของเกษตรกรในพื้นที่ (ได้ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน และภูมิประเทศ) (2) ศึกษาสภาพการทำสวนยางพารา ต้นทุน แหล่งทุน พันธุ์ยางพารา  การรับข่าวสาร (3) ศึกษาแนวคิด ปัญหาอุปสรรค และแรงจูงใจ

การดำเนินงานเป็นเพียงการสำรวจข้อมูล ได้ข้อมูลใหม่ที่ล้าสมัยเร็ว  หากศึกษาให้ได้ “แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงอาชีพ” อาจจะมีประโยชน์มากกว่า โดยมียางพาราเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง

เปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณ กับ หมู่บ้านอื่นที่เขาปลูกยางมาก จะทำให้เห็นปัจจัยชัดขึ้น  ไปขอข้อมูลเบื้องต้นจากสกย.น่าน เพื่อวิเคราะห์หาอัตราการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สวนยาง

แรงจูงใจในการเปลี่ยนอาชีพ เป็นข้อมูลทั่วไป คงไม่แตกต่างจากที่อื่นซึ่งมีผลวิจัยแล้ว  อาจจะเริ่มจาก “ตั้งคำถามใหม่” ที่แตกต่างจากเดิม

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

2. การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ในการประกอบอาชีพสวนยางพารา (PJR164)

ครูที่ปรึกษา นายสมชาย โพธิ์ศรี
โรงเรียน ชุมแพพิทยาคม จ.ขอนแก่น

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ในการประกอบอาชีพสวนยางพารา

วิเคราะห์

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  (ปศพ.) ถูกใช้ในการทำให้เยาวชนมีอุปนิสัยพอเพียง เห็นคุณค่าของทุกสิ่ง  จึงสนใจศึกษาการประยุกต์หลัก ปศพ. ในการทำสวนยางพารา และเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้น

วิธีการ ใช้การสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูล (ไม่ชัดเจนว่าจะได้คำตอบ)

โครงงานนี้ยังไม่ชัดว่าจะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง  ผู้ทำโครงงานเรื่องนี้ต้องมีความเข้าใจ ปศพ. ก่อน  ที่มากกว่าจำได้  ว่ามี 3 ห่วง (ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การมีภูมิคุ้มกันที่ดี)  2 เงื่อนไข (มีความรู้และมีคุณธรรม)  4 มิติ (เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรม) จนสามารถแบ่งกลุ่มคนที่ใช้หลักปศพ.ออกจากกลุ่มทั่วไปได้   สุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล เปรียบเทียบกับคนทั่วไป  คงต้องอาศัยผู้รู้หลัก ปศพ. ในพื้นที่ช่วยเหลือ

เป็นงานที่น่าสนใจ แต่ยากสำหรับนักเรียนที่ยังไม่เข้าใจหลักปรัชญาฯ  ซึ่งเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติ  การใช้ปศพ.ในภาคการเกษตรเป็นตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ใช้ ปศพ.

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานให้มีความชัดเจน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

3. วิถีความสุขในเศรษฐกิจพอเพียงกับอาชีพกรีดยางพาราในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (PJR237)
ครูที่ปรึกษา นางสาวมนต์รวี บรรจงจิตต์
โรงเรียน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง จ.ระยอง

วัตถุประสงค์

1. ศึกษาสำรวจการตัดสินใจเลือกอาชีพกรีดยางพาราของชาวสวนยาง
2. ศึกษาวิถีความสุขในเศรษฐกิจพอเพียงกับอาชีพกรีดยางพาราในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

วิเคราะห์

อาชีพกรีดยางเป็นอาชีพที่มีความสุขและความพอเพียง  โครงงานนี้สนใจศึกษาวิถีแห่งความสุขของอาชีพนี้

วิธีการ (1) ศึกษาการตัดสินใจเลือกอาชีพกรีดยางโดยการสำรวจ (2) ศึกษาวิถีความสุข จากประชากร 10 คน ใน 3 ตำบล รวม 30 คน โดยการสอบถาม (ไม่ได้บอกว่าจะเก็บข้อมูลอะไร) (3) เผยแพร่ผลงาน (ไม่ได้บอกว่าจะทำอย่างไร)

ความสุขเกิดจากกระบวนการคิดเชิงบวก ที่มีศีลธรรมกำกับ  อาจใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการประเมินวิถีแห่งความสุขได้ (ต้องไปสืบค้นข้อมูลการประเมินความสุขของสำนักต่าง ๆ)

เรื่องนี้น่าสนใจ ต้องให้ความสำคัญกับ “การประเมินความสุข” ซึ่งไม่ใช่ไปสอบถามว่ามีความสุขระดับใด  แต่ควรเป็นการไปเก็บข้อมูลทางอ้อม เช่น ดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา หรือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับใด แนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ในพื้นที่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

4. สวนยางพารากับความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนตำบลบึงโขงหลง (PJR282)
ครูที่ปรึกษา นางสุทธิรัตน์ ศรีสงคราม
โรงเรียน บึงโขงหลงวิทยาคม จ.บึงกาฬ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การทำสวนยางพาราของชุมชนตำบลบึงโขงหลง
2. เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของชุมชนตำบลบึงโขงหลง

วิเคราะห์

อาชีพมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ยางพาราเปลี่ยนคนทำนา ทำไร่ ไปทำสวนยางพารา  ซึ่งส่งผลให้มีรายได้สูงขึ้น จึงสนใจศึกษาประวัติศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงอาชีพของชุมชนตำบลบึงโขลง จ.บึงกาฬ

วิธีการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกของผู้สูงวัย คนวัยกลางคน คนรุ่นปัจจุบัน หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เห็นข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายใต้คำถามหลัก อาชีพสวนยางมีความเป็นมาอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างไร

น่าสนใจ โครงงานนี้จะใช้วิจัยประวัติศาสตร์ในการค้นหาการเปลี่ยนแปลง

ถ้าสามารถเพิ่มข้อมูลเชิงปริมาณของการเปลี่ยนแปลง เช่น พื้นที่ปลูกสวนยาง (ขอข้อมูลได้จากสกย.)  ก็จะทำให้เห็นสองมุม การเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ กับ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นแนวโน้มในอนาคตได้ชัดขึ้น

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

5. การศึกษาการดำรงชีวิต(ใหม่) ของชาวสวนยางพารากับชาวนาในจังหวัดนครสวรรค์ (PJR286)
ครูที่ปรึกษา นางสุรัติยาพร ทวีการไถ
โรงเรียน เทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จ.นครสวรรค์

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิต(ใหม่)ของชาวสวนยางพารากับชาวนาในจังหวัดนครสวรรค์
วิเคราะห์

จ.นครสวรรค์ เริ่มมีการปลูกยางตั้งแต่ปี 2553 ที่ต.แม่วงก์ อ.แม่วงก์ ทำให้เกษตรกรชาวนามีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป  จึงสนใจการดำรงชีวิตสมัยใหม่ของชาวสวนยางเปรียบเทียบกับชาวนา

วิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่าง (ไม่ได้บอกว่า จำนวนเท่าใด) ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และผลตอบแทน

การวิจัยลักษณะนี้ ถ้าอยู่ในช่วงยางราคาดี จะได้ผลสรุปมาลักษณะหนึ่ง  ถ้ายางราคาไม่ดี ก็ได้ผลสรุปอีกลักษณะหนึ่ง และอธิบายความหมายได้เฉพาะในช่วงที่ทำโครงงาน

จึงไม่เห็นประโยชน์จากโครงงานนี้ ยกเว้นสามารถแปลงข้อมูลให้สามารถอธิบายได้ในช่วงกว้างขึ้น  หรือได้คำตอบประเด็นเฉพาะ ที่เป็นความรู้ใหม่  ไม่ใช้ในความหมายทั่วไป เช่น ทำสวนยางพาราทำให้มีรายได้สูงขึ้น การดำรงชีวิตก็เปลี่ยนไป ซึ่งไม่ได้คำตอบอะไร

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

/////////////////////////////////////

ผลประเมินโครงงานยุววิจัยยางพาราปี 2555 : กลุ่มที่ 13 การติดตาและเร่งรากกล้ายางพารา ( 11 เรื่อง )

แนะนำ

“ความรู้” ที่สืบค้นมา ไม่ทำให้ได้ความรู้ใหม่ถ้าเราทำตามที่เขาว่า  การทำโครงงานให้ได้ความรู้ใหม่ ต้องมองหรือคิดจากมุมมอื่น  มองเห็นช่องว่างของความรู้  ทั้งนี้ความเข้าใจอย่างชัดเจนเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการคิด

การเร่งการเจริญเติบโตระบบราก  ด้วยการใช้น้ำหมัก  ใช้ต้นตอเสริม  และใช้สารสกัดจากพืช  เหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่  แต่เราก็สามารถคิดหาความใหม่จากมุมอื่น เช่น ข้อมูลใหม่ ความสัมพันธ์ใหม่   และอื่น ๆ

ไพโรจน์  คีรีรัตน์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มอ.

4 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

1. เร่งรากต้นกล้ายางพาราด้วยปุ๋ย EM ที่มีส่วนผสมของใบยางพาราแห้ง (PJR094)
ครูที่ปรึกษา นางสาวเกศรินทร์ ดีแสน
โรงเรียน ชุมพลโพนพิสัย จ.หนองคาย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการเจริญของรากต้นกล้ายางพาราที่ใช้ปุ๋ย EM จากใบยางพาราแห้ง
2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเจริญของรากต้นกล้ายางพาราจากการใช้ปุ๋ย EM จากใบยางพาราแห้งและปุ๋ยเคมีปกติ

วิเคราะห์

ใบยางพาราในสวนต้องไถกลบ จึงสนใจจะนำมาใช้ใบยางมาทำปุ๋ย EM

วิธีการ (1) หาสัดส่วนของใบยางในการใช้เป็นวัสดุหมัก (2) เปรียบเทียบปุ๋ย EM ที่มีใบยางกับปุ๋ยเคมี โดยนำไปรดต้นยางพารา  บันทึกการเจริญเติบโต แต่ไม่ได้บอกว่าจะวางแผนการทดลองอย่างไร จะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง

การไถกลบให้ใบยางย่อยสลายเป็นปุ๋ย เป็นวิธีการที่ดีกว่าการเก็บใบยางพารามาหมัก EM  เพื่อใช้เร่งรากต้นกล้ายางพารา  เรามีความรู้ในการหมัก EM อยู่แล้ว และมีการขาย EM ในท้องตลาด  การหมัก EM จากวัสดุอื่นจะมีประโยชน์กว่า  เพราะใบยางพาราก็ไม่ใช่วัสดุสำคัญที่ใช้หมัก เรื่องนี้จึงไม่ได้ความรู้ใหม่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

2. สารเร่งการเจริญเติบโตของของรากกล้ายางพาราจากธรรมชาติ (PJR134)
ครูที่ปรึกษา นางกุลวรา เต็มรัตน์
โรงเรียน เดชะปัตตนยานุกูล จ.ปัตตานี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการสกัดไคโตซาน
2. เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำสารเร่งการเจริญเติบโตของของรากกล้ายางพาราจากธรรมชาติ

วิเคราะห์
จังหวัดปัตตานีมีอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้ง มีเปลือกและหัวกุ้ง สามารถนำไปสกัดไคโตซาน  จึงสนใจจะใช้ไคโตซานจากเปลือกกุ้ง ในการเร่งการงอกของกล้ายางพารา

วิธีการ (1)จะสกัดไคโตซานจากเปลือกกุ้ง (ไม่ได้บอกว่าจะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง ที่เป็นความรู้จากกิจกรรมนี้) (2) ศึกษาส่วนผสม ไคโตซาน : น้ำมะพร้าว โดยนำเมล็ดยาง 7 ชุด มาแช่ในส่วนผสมต่าง ๆ แล้วนำไปเพาะ บันทึกการเจริญเติบโตของราก  (การศึกษาการเจริญเติบโตของราก เขามีหลักในการประเมิน คงยากสำหรับนักเรียน)

มีความรู้เกี่ยวกับไคโตซานอยู่มากแล้ว  สามารถซื้อไคโตซานมาใช้ได้  การสกัดไคโตซานจากเปลือกกุ้งจึงไม่ใช่ความรู้ใหม่ น้ำมะพร้าวมีราคา ไม่แน่ใจว่าการนำมาใช้แบบนี้ จะเหมาะสม

ข้อมูลของการเจริญของราก เป็นสิ่งสำคัญสำหรับโครงงานนี้ ไม่แน่ใจจะเก็บข้อมูลนี้อย่างไร

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 255

////////////////////////////////////////////

3. อิทธิพลของพันธุ์ยางพาราและการเสริมรากที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นยางพารา (PJR137)
ครูที่ปรึกษา นายศาสตรา สายสุนันทรารมย์
โรงเรียน ตูมใหญ่วิทยา จ.บุรีรัมย์

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นยางพาราพันธุ์ต่าง ๆ เมื่อได้รับการเสริมรากในรูปแบบวิธีที่ต่างกัน

วิเคราะห์
ราคายางพาราสูง คุ้มต่อการลงทุน ทำให้มีการสร้างสวนยางเพิ่มขึ้น  ภัยทางธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลต่อระบบนิเวศ การเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ทำให้พืชล้มจำนวนมาก จึงควรเร่งหาการเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ระบบราก  โครงการนี้จึงสนใจการเสริมรากให้แก่ต้นยางพารา

วิธีการ ใช้ยางพันธุ์ RRIT 251, RRIM 600 และ RRIM 600 (ยอดดำ)  ใช้แผนการวิจัยแบบ 3×4 factorial pot experiment  คือ พันธุ์ยาง 3 พันธุ์  และเสริมราก 4 แบบ (ไม่เสริม, 2 ราก, 3 ราก, 4 ราก หนึ่งรากหมายถุงหนึ่งต้นตอ) ทดลอง 48 หน่วย  ปลูกในพื้นที่วิจัยของโรงเรียนตูมใหญ่วิทยา เก็บข้อมูลความสูง เส้นรอบวงที่ 5 cm จากรอยเสริม จำนวนใบ  ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย ANNOVA

เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ถ้านำข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรมาแสดง และต่อยอด แนะนำให้ไปถามข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย)

ภาพระบบรากเริ่มปลูกกับหลักปลูก หาสามารถนำมาแสดงเปรียบเทียบกัน จะช่วยสนับสนุนการอธิบายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สรุป จะส่งให้กรรมการประเมิน หรือถ้าสนใจปรับแก้ข้อเสนอโครงงานอีกก็ได้ โดยส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

4. การศึกษาอิทธิพลของการเสริมรากที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นยางพารา พันธุ์ RRIM 600 (PJR138)
ครูที่ปรึกษา นายศาสตรา สายสุนันทรารมย์
โรงเรียน ตูมใหญ่วิทยา จ.บุรีรัมย์

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบอิทธิพลของการเสริมรากที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นยางพารา พันธุ์ RRIM 600 ในรูปแบบวิธีที่ต่างกัน

วิเคราะห์
จังหวัดบุรีรัมย์เริ่มสนใจปลูกยางพารากันมาก ยางพันธุ์ RRIM 600  ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค เนื่องจากรากเป็นระบบที่สำคัญ ทำหน้าที่พยุงต้น ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ  จึงสนใจศึกษาอิทธิพลของการเสริมราก ยางพันธุ์ RRIM 600

วิธีการ  ใช้พันธุ์ RRIM 600 ทดลองปลูก  4 แบบ ( มีราก 1, 2, 3 ,4 ต้นตอ)  อย่างละ 6 ตัวอย่าง บันทึกการเจริญเติบโต วิเคราะห์ความแปรปรวน

โครงงานมีลักษณะงานคล้ายกับอีกโครงงาน โครงงานที่ 3  ไม่ได้ความรู้ใหม่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

5. การสกัดสารจากเมล็ดยางพารางอก เพื่อนำไปใช้ในการเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อพืชในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (PJR171)
ครูที่ปรึกษา นายทวีศักดิ์ แก้วทอน
โรงเรียน เดชะปัตตนยานุกูล จ.ปัตตานี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำสารสกัดออกซินที่ได้จากเมล็ดยางพารางอก นำไปใช้เร่งการเจริญเติบโตในการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ
2. เพื่อนำสารออกซินจากเมล็ดยางพารามาใช้ประโยชน์แทนการทิ้งหรือปล่อยให้เน่าเสีย
วิเคราะห์
ในเมล็ดยางมีสารออกซิน (นำข้อมูลเชิงวิชาการสนับสนุนว่ามีปริมาณเท่าใด)  ที่พืชใชัในการเจริญเติบโต จึงสนใจนำเมล็ดยางพารางอก มาสกัดสารออกซินสำหรับใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

วิธีการ นำเมล็ดยางงอกมาสกัดสารออกซินด้วยเอทานอล  นำออกซินไปเตรียมเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ

ไม่เห็นว่าจะได้ความรู้อะไร  มีข้อมูลเชิงวิชาการสนับสนุน   การสกัดสารออกซินไม่ใช่เรื่องใหม่ และไไม่เป็นปัญหา

เป้าหมายของโครงงานนี้ไม่ชัดเจน  ว่าต้องการความรู้ใหม่อะไร เช่น ประสิทธิภาพการสกัด ต้นทุนการผลิต  วิธีสกัดแบบใหม่  หรือเปรียบเทียบกับวัสดุอื่นที่มีในท้องถิ่น เมล็ดยางมีน้อยและมีเฉพาะบางช่วง จึงเสี่ยงมากสำหรับการทำโครงงานนี้

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

6. การเร่งรากของต้นยางพาราโดยใช้กากกาแฟอมก๋อย (PJR172)
ครูที่ปรึกษา นางสาวภวรัญชน์ สมศักดิ์
โรงเรียน อมก๋อยวิทยาคม จ.เชียงใหม่

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสามารถในการเร่งรากยางตาเขียวและเมล็ดของต้นยางพาราโดยใช้กากกาแฟอมก๋อย

วิเคราะห์
อำเภอออมก๋อยเริ่มปลูกยางพารา จึงสนใจจะลดปริมาณขยะจากกากกาแฟ โดยเอามาใช้เร่งรากยางตาเขียว (ขอข้อมูลสนับสนุนว่า กากกาแฟมีสารอะไร ช่วยเร่งราก)

วิธีการ ใช้ยางตาเขียว 200 ต้น และเมล็ดยาง 200 เม็ด แบ่งครึ่งแช่น้ำกากกาแฟ  น้ำ และกากกาแฟผสมน้ำที่สัดส่วนต่าง ๆ แช่นาน 20-50 นาที นำไปเพาะ และบันทึกผล (เก็บข้อมูลอะไรบ้าง)

แนวคิดของโครงงานนี้มีความเสี่ยงสูง เพราะคาดว่ากากกาแฟสารเร่งการงอกได้  โดยไม่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเชิงกว้าง แต่จะลงลึกในวิธีการใช้

การทดลองที่กำหนดไว้  ไม่สามารถวัดผลแตกต่างได้ เช่น แช่นานกว่ามีผลอย่างไร

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

7. ขนาดของถุงกับการเจริญเติบโตของกล้ายางพาราแบบติดตา (PJR182)
ครูที่ปรึกษา นายอดิเรก มะสิน
โรงเรียน สามร้อยยอดวิทยาคม จ.ประจวบคีรีขันธ์

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นยางติดตาในถุงเพาะชำขนาดต่างๆว่าถุงขนาดใดมีความเหมาะสมและช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผลิตต้นยางติดตาในถุงได้

วิเคราะห์
การติดตายางในถุง เหมาะสำหรับใช้ปลูก เนื่องจากมีระบบรากที่สมบูรณ์ และแข็งแรง จึงสนใจศึกษาขนาดถุงกับการเจริญเติบโตของต้นยางพารา

วิธีการ ปลูกยางในถุง 4 ขนาด  ตรวจดูความสมบูรณ์ของราก (วัดอย่างไร)  บันทึกความสูงและเส้นรอบวงของต้นยาง นับจำนวนใบ

ความรู้ที่จะได้ไม่ใช่ของใหม่  นักเพาะกล้ายางเขามีประสบการณ์และสามารถบอกได้  วิธีในปัจจุบันเหมาะสมแล้ว บนเงื่อนไขต่าง ๆ อาทิ การขนย้าย ราคา และอื่น ๆ ต้องโต้แย้งวิธีการที่ไม่เหมาะสม

สรุป แนะนำให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

8. การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของกล้ายางที่ถูกเสริมตอเพื่อเพิ่มระบบราก (PJR211)
ครูที่ปรึกษา นางสุริยะพร นาชัยเงิน
โรงเรียน หนองบัวพิทยาคาร จ.หนองบัวลำภู

วัตถุประสงค์
เพื่อการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของกล้ายางที่ถูกเสริมตอเพื่อเพิ่มระบบราก เปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตของกล้ายางจากตอเดี่ยว

วิเคราะห์
จากการสอบถามชาวสวน พบว่ายางโตช้า โครงงานนี้สนใจจะศึกษาการปลูกแบบสองตอต่อหนึ่งยอด ซึ่งจะเพิ่มผลผลิตน้ำยาง และมีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว

วิธีการ (1) ใช้กล้ายาง 60 ต้น  นำมาทำกล้าตอเดียว 20 ถุง สองตอ 20 ถุง แบ่งครึ่งเพาะในเรือนเพาะชำ และเพาะในแปลทดลอง ควบคุมปริมาณน้ำและปุ๋ย เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต

เข้าใจว่า มีข้อมูลพอสมควร แนะนำให้ถามสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) และศูนย์วิจัยยางหนองคาย เขาจะมีคำแนะนำให้

หาสวนยางตัวอย่างที่ปลูกลักษณะนี้ เก็บข้อมูลด้วยการสำรวจในภาคสนาม จะง่ายกว่าปลูกเอง  สำรวจในพื้นที่ใกล้ ๆ เก็บข้อมูลการปลูกแบบสอง

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

9. ผลของการใช้สารสกัดออกซิน จากพืชต่อการงอกของรากในกล้ายางชำถุง (PJR233)
ครูที่ปรึกษา อาจารย์สุทิน เวทวงษ์
โรงเรียน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง จ.ระยอง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารออกซินของพืชในท้องถิ่น
2. เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้สารสกัดออกซินจากพืชในการเร่งรากกล้ายางพารา
3. เพื่อศึกษาผลของสารสกัดออกซินจากพืชในการเร่งการงอกของรากกล้ายางชำถุง

วิเคราะห์
การเพาะชำกล้ายางพารามีหลายวิธี และกล้ายางที่มีรากจำนวนมากจะเจริญเติบโตได้เร็ว  มีผลการศึกษาการใช้สารสกัดจากข้าวโพดและน้ำมะพร้าว (สารออกซิน) เร่งรากกล้ายาง จึงสนใจทดลองเร่งรากกล้ายางในถุงเพาะ

วิธีการ จะใช้สารสกัดออกซินจากพืชในท้องถิ่น (ไม่ได้บอกว่าพืชอะไร) เขียนวิธีการทดลองมาน้อย ไม่ทราบว่าจะทำอะไรบ้าง และจะเก็บข้อมูลอะไร

แนวคิดของโครงงานนี้อาจไม่แตกต่างจากเดิม เพียงแต่เปลี่ยนชนิดของพืช คาดว่าจะไม่ได้ความรู้ใหม่

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

10. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารออกซินจากยอดฝักทอง ยอดฝักเขียว และยอดมะระหวาน ในการเร่งการติดตาเขียวของยางพารา (PJR239)
ครูที่ปรึกษา นางสาวเกศินี อินถา
โรงเรียน แม่จันวิทยาคม จ.เชียงราย

วัตถุประสงค์
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารออกซินจากยอดฝักทอง ยอดฝักเขียว
และยอดมะระหวาน ในการเร่งการติดตาเขียวของยางพารา
วิเคราะห์
สารออกซินมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งเซลของพืช ในเนื้อเยื่อเจริญของพืชจะมีสารออกซินสูง เช่น เยื้อเยื่อปลายใบ ปลายยอด  โครงงานนี้จึงสนใจเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารออกซินจากยอดฝักทอง ฝักเขียว และมะระหวาน (บอกเหตุผลว่าทำไมจึงเลือกพืชเหล่านี้) ในการเร่งการติดตาของยางพารา

วิธีการ ใช้เอทานอลสกัดสารออกซิน วัดปริมาณสารออกซินโดยวิธีดูดกลืนแสง (สามารถวัดได้เอง หรือ พึ่ง Lab อื่น)

ความรู้ใหม่ไม่ใช่ทดลองเร่งการติดตาของกล้ายาง แต่เป็น “การสกัดสารออกซินและเก็บรักษา”  จากพืชที่มีศักยภาพในพื้นที่ (หาข้อมูลสนับสนุน)

ถ้ามีผู้เพาะกล้ายางในพื้นที่  ก็นำสารสกัดไปให้ผู้เพาะกล้ายางทดลองใช้ แล้วตามไปเก็บข้อมูลจะง่ายกว่า   เปรียบเทียบกับสารที่เขาใช้ในปัจจุบัน

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงาน  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////

11. รูปแบบการติดตายางพารา (PJR259)
ครูที่ปรึกษา นางสาวกาญจนา สมคิด
โรงเรียน มกุฎเมืองราชวิทยาลัย จ.ระยอง

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษารูปแบบการติดตายางพาราที่มีประสิทธิภาพ

วิเคราะห์
การติดตายางมี 3 แบบ คือ แบบเพลท แบบที แบบชีพ พบว่าส่วนมากใช้วิธีแบบเพลท (แสดงว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมแล้ว เพราะได้ผ่านการพิสูจน์แล้วทางปฏิบัติ) จึงสนใจการติดตาทั้ง 3 แบบ

วิธีการ ศึกษาข้อมูล สุ่มเลือกแปลงขยายพันธุ์ใน อ.แกลง จ.ระยอง ทดลองติดตาทั้งสามแบบอย่างละร้อยต้น บันทึกผล (ไม่ได้บอกว่าเก็บข้อมูลอะไร)

การติดตาแบบต่าง ๆ คงไม่เป็นความรู้ใหม่  วิธีที่ใช้ในทางปฏิบัติจะเป็นวิธีที่เหมาะสมแล้ว ควรหาความใหม่ในมุมอื่น ต้องถามสกย. หรือผู้ติดตาว่า ต้องการความรู้อะไรเกี่ยวกับการติดตายาง

สรุป แนะนำให้ปรับแก้ข้อเสนอโครงงานหรือเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น  และส่งฉบับแก้ไขภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2555

////////////////////////////////////////////